Pepper หุ่นยนต์แอนดรอยด์ ที่พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran และ Japanese group Softbank ได้รับการเปิดตัวในงาน the Viva Technology ที่จัดขึ้น ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 16 มิถุนายน 2017 ที่ผ่านมา
ในครั้งหนึ่งนั้นบริษัทกูเกิลมีชื่อเสียงในด้าน bankrolling moonshots ที่เป็นผู้พัฒนายานพาหนะที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติ สายกูเกิลไฟเบอร์ สำหรับนำส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และบริษัทผลิตหุ่นยนต์ Boston Dynamics
ถัดมาในปี 2015 บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนผู้ถือหุ้น และก้าวสู่องค์กรแห่งความคิดที่ไม่อยู่ภายใต้บริษัทกูเกิลอีกต่อไป นอกจากนั้นยัง เปลี่ยนไปสู่การมีวิสัยทัศที่สุขุม และระมัดระวังมากขึ้น Ruth Porat CFO ของบริษัท Alphabet กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะสืบต่อชื่อเสียง และผลงานของบริษัท เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีประสิทธิภาพของสินค้า โดยมุ่งเน้นในการใส่ใจทุกรายละเอียดของทรัพยากร” หรือในอีกทางหนึ่งคือจากรากฐานของกูเกิลไฟเบอร์ ทำให้ Alphabet มีช่องทางการขายที่กว้างขึ้น หนึ่งในนั้นคือคู่ค้าใหม่จากประเทศญี่ปุ่น บริษัทในเครือ Softbank ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการขายสินค้าเทคโนโลยี
บริษัท Softbank เป็นที่รู้จักในนามของบริษัทแม่ของ Sprint ในอเมริกา แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ Softbank เป็นที่รู้จักในชื่อของนักลงทุนด้านธุรกิจเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี โดยเริ่มจากระบบขับขี่อัตโนมัติในรถโดยสาร การลงทุนด้านอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม OneWeb ที่ก่อตั้งโดยพนักงานจากบริษัทกูเกิลเดิม ที่มีมูลค่าถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าครอบครองกิจการของสองบริษัทใหญ่ นั่นคือ Boston Dynamics และ Schaft นอกจากนั้นบริษัทยังประกาศเจตนารมณ์ในการลงทุนด้านเทคโนโลยีด้าน quantum computing สูงถึง 10000 ล้านเหรียญสหรัฐ
เช่นเดียวกันกับ Larry Page, Elon Musk และ Jeff Bezos นาย Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ SoftBank เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในอนาคต เขากล่าวว่า “ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเข้าใกล้ขึ้นมาทุกทีแล้ว” ในระหว่างงานสัมมนา ARM’s developer ปีที่แล้ว “สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความคิดของผมคือการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในทุกกิจกรรม นั่นทำให้ผมลงทุนมูลค่ากล่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนา และนี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น”
ลงทุนสูง ความเสี่ยงมาก
นาย Son เริ่มก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับซอฟแวร์ในปี 1981 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์แทน จากมิตรภาพด้านธุรกิจกับ Yahoo บริษัทได้ก่อตั้ง Yahoo Japan ขึ้นในปี 1996 และก่อตั้ง Ziff Davis บริษัทสิ่งพิมพ์ถัดมาในปี 1999
Softbank เริ่มธุรกิจในการเสนอการให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตในช่วงปี 2000 และก้าวสู่บริษัท Japan Telecom บริษัทโทรคมนาคมในปี 2004 ต่อมาได้เริ่มต้นบริษัท Vodaphone’s Japanese ในปี 2006 และ Sprint ในปี 2012 แต่บริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือการลงทุนใน Alibaba ในปี 2005
และเมื่อไม่นานมานี้ Softbank ก็ได้เข้าครอบครองบริษัทหุ่นยนต์ในประเทศฝรั่งเศส Aldebaran ที่เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่สามารถแสดงอารมณ์ได้ชื่อ Pepper นอกจากนั้นยังเข้าสู่ตลาดผู้ให้บริการขนส่ง Asia’s GrabTaxi, China’s Didi Chuxing, และ Lyf ในนามของ Fortress Investment Group ในด้าน E-Commerce Softbank ยังลงทุนใน Coupang ของเกาหลีใต้เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 20015 และบริษัท Paytm ของอินเดียมูลค่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท Nvidia ผู้ผลิตชิ้นส่วนของระบบปัญญาประดิษฐ์อีกจำนวน 410 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่นอกจากนโนบายการพัฒนาระบบ AI แล้ว นาย Son ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการพิจารณาเข้าซื้อกิจการใดๆโดยเฉพาะ
หากคุณลองคิดดูเล่นๆ ก็อาจจะสงสัยว่า SoftBank มีเงินทุนในการทำหลายๆโปรเจคได้อย่างไร นี่เป็นเพราะ Son ได้ตัดสินใจขายบริษัท SoftBank ในราคา 790 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้เป็นหนึ่งในบริษัท Alibaba ยังผลให้เขาสามารถมรผลกำไรในการก่อตั้งบริษัท ARM ผู้ผลิตชิ้นส่วนโทรศัพท์ และแทบเล็ต ที่มีมูลค่าสูงถึง 320 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากผู้ถือหุ้นอื่นๆ ทั้ง Apple, Qualcomm, และ Saudi Arabia ที่ร่วมลงทุนด้วย อย่างไรก็ตามเงินลงทุนนี้ก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการระดมเงินกองทุนเพิ่มเติม ประกอบกับการขาดทุนกว่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐจากการควบรวมกิจการ OneWeb และ Intelsat ทำให้ SoftBank จึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม
กูเกิลจึงต้องหวังพึ่งกำไรจากการเสี่ยงลงทุนในธุรกิจด้านสื่อโฆษณา เพื่อออกเงินกู้ยืมแก่ SoftBank นั่นหมายความว่า หากเกมนี้ไม่ได้ผล SoftBankจะขาดทุนและปิดตัวลง อย่างที่ไม่ค่อยเป็นบ่อยนักกับบริษัทที่กูเกิลหนุนหลังอยู่ เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าการลงทุนนั้นไม่มีความเสี่ยงเลย
ฉันร่วมงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ในเมืองโตเกียวมา 2-3 ปีแล้ว ฉันเป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยคนแรกของบริษัท ทำให้ฉันได้เห็นมุมมองการทำงานของบริษัทญี่ปุ่นใน ที่พวกเขาพยายามรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ไว้พร้อมๆกับการก้าวเข้าสู่ธุรกิจระดับโลก
แม้ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสหรัฐอเมริกามาช้านาน โดยเฉพาะด้านการเมือง แต่อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นก็ยังสามารถคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน และรูปแบบการทำงาน
หางานบริษัทญี่ปุ่นในไทย
Careerlink Recruitment Thailand : มีงานบริษัทญี่ปุ่น
towaiwai.com : หางานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย
เลือกรับพนักงานที่เหมาะกับวัฒนธรรมบริษัท แม้จะไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย
ตอนที่บริษัทเปิดที่ฉันทำงานอยู่นั้น เปิดสาขาในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ฉันและผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้เข้าสมัครงานกว่าร้อยคน ข้อแตกต่างที่ฉันพบคือ ผู้ร่วมงานของฉันถามคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ และความเข้าใจในตนเองของผู้สมัคร รวมไปถึงการวางแผนในอนาคตของผู้สมัคร เช่นเดียวกันกับบริษัทชาติตะวันตกที่มักถามคำถามแบบเดียวกันนี้ แต่ฉันกลับพบว่าคำถามเชิงเทคนิค และความรู้เฉพาะทางพบได้น้อยมากในการสัมภาษณ์งานของบริษัทญี่ปุ่น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะบริษัทญี่ปุ่นเลือกเฟ้นพนักงานที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการทำงาน และเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทต้องพิจารณา เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นจะเป็นผู้ร่วมงานกับเรา อย่างน้อยที่สุด พนักงานเหล่านั้นจะได้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดที่สุด นอกเหนือสิ่งอื่นใด การที่พนักงานมีความเชื่อในสิ่งที่บริษัทกำลังดำเนินธุรกิจอยู่นั้น ก็จะเป็นผลดีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้งานที่ดียิ่งขึ้น แม้ว่าในปีแรกนั้นพนักงานเข้าใหม่มักได้รับหน้าที่ในการรับโทรศัพท์ ชงชา และทำตามคำสั่งของพนักงานรุ่นพี่ แต่ช่วงขณะนั้นเองพนักงานใหม่ก็จะได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการทำงาน และการทำงานแบบมืออาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เพื่อนของฉันได้รับข้อเสนอจากบริษัท Honda ตอนนั้นเพื่อนของฉันบอกว่าตัวเธอเอง ยังไม่ทราบว่าแม้กระทั่งว่าตนเองนั้นได้รับตำแหน่งใด และมีหน้าที่อะไรบ้าง ในวันแรกของการทำงานนั้นเธอไปเรียนรู้งานจากหลายๆแผนก ฉันเองก็เคนได้รับข้อเสนอให้โยกย้ายไปทำงานในแผนกบุคคลในช่วงเดือนแรกของการทำงานเช่นเดียวกัน แม้ว่าตอนนั้นฉันเองทำงานด้าน UX Consultant อยู่ก็ตาม นี่ทำให้เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทญี่ปุ่นคือความสำเร็จขององค์กรมากกว่าความสำเร็จของพนักงานคนใดคนหนึ่ง
มันจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ในการรับสมัครพนักงานใหม่นั้น บริษัทจะให้ความสนใจกับมหาวิทยาลัยที่ผู้สมัครงานจบมา มากกว่าสาขาวิชา ยิ่งจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ผู้สมัครท่านนั้นก็ยิ่งได้เปรียบ ในหลายประเทศนั้นผู้ที่เรียนได้รับปริญญาโท มักได้รับค่าจ้างสูงกว่าผู้ที่จบวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ไม่ใช่กับประเทศญี่ปุ่น
เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทชาติตะวันตก ประเทศญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับความสำเร็จขององค์กรในภาพใหญ่มากกว่า นี่เป็นเหตุผลให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งเป้าหมายของชีวิตตัวเองไว้ แต่กลับมองหาบริษัทที่มีวิสัยทัศ มีชื่อเสียง และพยายามอย่างหนักให้ได้ร่วมงานกับบริษัทเหล่านั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบริษัทนั้นๆ
แล้วชาวต่างชาติจะปรับตัวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างไร
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นหลายบริษัทมองหาพนักงานชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อเปิดตลาดในสาขาต่างประเทศ แม้ว่าผู้สมัครงานเหล่านั้นจะไม่มีทักษะด้านภาษาญี่ปุ่นเลย บริษัทเหล่านั้นก็ให้การต้อนรับเช่นเดียวกับผู้สมัครชาวญี่ปุ่นเอง แต่นี่อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในการทำงานตามมาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่มีพนักงานต่างชาติ เป็นชาวยุโรป หรืออเมริกา ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นแล้วการที่พนักงานต่างชาติที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน หรือสามารถสื่อสารกับชาวญี่ปุ่นได้ จะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ฉันพบว่าสำหรับชาวจีน และไต้หวันแล้วเป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น นั่นเพราะวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และข้อได้เปรียบด้านภาษา ที่ชาวจีนสามารถเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วชาวเอเชียก็มีหน้าตาที่กลมกลืนกับชาวญี่ปุ่น ทำให้พนักงานเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นด้วยกัน
สำหรับฉันเองซึ่งพูดภาษาญี่ปุ่นได้น้อยมาก กลับพบว่าในบางครั้งมันกลับเอื้อประโยชน์ในการทำงาน ซึ่งฉันเคยพบเมื่อต้องประชุมร่วมกับลูกค้าชาวญี่ปุ่น ฉันเป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวในที่ประชุม ในครั้งนั้นแผนงานโครงการกระชั้นชิดมากทีเดียว ฉันขอข้อมูลบางอย่างจากทางลูกค้า พวกเข้าถามกลับมาว่าต้องการข้อมูลนี้เมื่อไร ในตอนนั้นเองฉันตอบกลับว่าฉันต้องการข้อมูลภายในวันพรุ่งนี้ ลูกค้าชาวญี่ปุ่นเริ่มหัวเราะซึ่งฉันเองก็ไม่ทราบว่ามาจากสาเหตุใด หลังจากจบการประชุม ผู้ร่วมงานชาวญี่ปุ่นเอ่ยปากว่า หากไม่ใช่เพราะฉันแล้ว พวกเราคงไม่ได้ข้อมูลในระยะเวลาสั้นเพียงเท่านี้ เพราะมันไม่สุภาพเลยที่เราขอให้ลูกค้าเตรียมข้อมูลให้เราภายในวันรุ่งขึ้น แต่ฉันกลับกลายเป็นบุคคลซึ่งไม่ถูกเหมารวมไปด้วย เนื่องจากฉันเป็นชาวต่างชาติ
การต่อรองกับลูกค้าชาวญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเบื่อ เพราะชาวญี่ปุ่นนั้นใช้เวลาในการตัดสินใจนาน โดยเฉพาะการตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศของบริษัท พวกเขาต้องมีการวิเคราะห์ที่ถี่ถ้วนเสียก่อน จึงเสียเวลาเปล่าที่จะบ่นเรื่องความล่าช้าของระบบงานแบบญี่ปุ่น ใครคนหนึ่งเคยบอกความลับให้ฉันว่า หากต้องการให้งานผ่านพิจารณาอย่างรวดเร็ว ฉันจะต้องแสดงข้อมูลที่มีการวิเคราะห์มาเรียบร้อยแล้วไปกับงานนั้นๆด้วย
ฉันเคยใช้วิธีนี้กับนายจ้างที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งอยู่ครั้งหนึ่ง มันเป็นงานเกี่ยวกับเงินเดือน และค่าเดินทางของพนักงาน ในสาขาต่างประเทศ ฉันพบว่าการที่ตระเตรียมข้อมูลมารองรับการถกเถียงนั้น ทำให้ฉันผ่านงานจุกจิกมาได้มากทีเดียว
ความเข้าใจของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อคนต่างชาติ
ข้อมูลจากนายจ้างชาวญี่ปุ่น พบว่าพนักงานต่างชาติมักมีความสามารถในการนำเสนอที่ดี หัวหน้าแผนกบุคคลของฉันท่านหนึ่งอธิบายว่า เขาประหลาดใจมากที่พนักงานชาวต่างชาติมีความมั่นใจเมื่ออยู่ต่อหน้าลูกค้า พนักงานเหล่านั้นมักได้เปรียบในเรื่องภาษาอังกฤษ แต่กลับมักได้รับคำตำหนิในเรื่องความขยันหมั่นเพียร เพราะพนักงานชาวต่างชาติมักมองหาความสมดุลเรื่องงาน และชีวิตส่วนตัว ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากพนักงานชาวญี่ปุ่นต้องเข้าทำงานสาย แม้เพียง 2-3 นาที เขาจะส่งอีเมล์แจ้งทุกคนในบริษัท หรืออย่างน้อยในแผนก เพื่อแสดงความขอโทษ และรับปากเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก แต่หากเป็นพนักงานชาวต่างชาติ เช่นพนักงานชาวจีน การมาทำงานสายเพียงเล็กน้อยนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย เช่นเดียวกับการลาป่วยของชาวญี่ปุ่นที่ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดที่พนักงานไม่สามารถรับผิดชอบ จัดการเรื่องของตนเองได้ และแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ สำหรับเรื่องนี้นั้น ฉันเองก็เคยถูกมองเช่นนั้น เมื่อครั้งที่ฉันบอกหัวหน้างานว่าฉันรู้สึกไม่สบาย และอยากจะขอลาป่วยระยะสั้นๆ แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อพบเจอสถานการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นมองว่าชาวต่างชาตินั้นไม่สามารถเชื่อถือได้
ฉันต้องใช้เวลานานพอดูสำหรับการสร้างความเชื่อใจในการทำงานกับชาวญี่ปุ่น คุณต้องทำงานอย่างหนัก หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เพราะความเชื่อใจนั้นอาจถูกลบล้างได้ด้วยความผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตามคุณก็ไม่อาจได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นเดียวกับที่พนักงานชาวญี่ปุ่นได้รัย แม้ว่าคุณจะทำงานได้ดีมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม
แล้วฉันควรจะทำงานในญี่ปุ่นดีไหม?
สิ่งที่ฉันกล่าวมาข้างต้นนั้น มักพบเจอมากในบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ และบริษัทตั้งเดิมที่ยึดถือกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาก แต่กับบริษัทข้ามชาติ เช่น Google และ Mckinsey ยังคงใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตก ฉันเองนั้นโชคดีที่ได้ร่วมงานกับบริษัทญี่ปุ่นสมัยใหม่ ที่คงวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นเพียงบางเรื่องเท่านั้น
การทำงานในญี่ปุ่นนั้นอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับชาวต่างชาติ แต่หากพวกคุณได้ลองดูสักครั้งแล้ว อาจจะต้องตกหลุมรักกับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อาหารรสเลิศ ความสวยงามของฤดูกาล บ้านเมืองที่สะอาด และปลอดภัย
การใช้เครื่องจักร และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทดแทนการทำงานของมนุษย์ในอนาคตนั้น ดูเหมือนจะกลายเป็นจริงไปอย่างรวดเร็วเสียแล้วสำหรับบริษัทประกันภัยในประเทศญี่ปุ่น ที่พนักงานจำนวน 30 คน ในตำแหน่งงานคำนวณค่าชดเชยประกันได้ถูกจ้างออก และทดแทนการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์แทน
จากการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานนี้ บริษัท Fukoku Mutual Life Insurance เชื่อว่าจะสามารถเพิ่มผลประกอบการได้สูงถึง 30% และจะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว บริษัทจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้จาก 200 ล้านเยนต่อปี ให้เหลือเพียง 140 ล้านเยนต่อปี ในเดือนนี้เองที่ระบบ AI ได้ถูกนำมาใช้ในการทำงานของบริษัท และมีค่าใช้จ่ายเพียงปีละ 15 ล้านเยนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการตัดสินใจใช้ระบบ AI ในการทำงานของบริษัทก็ทำให้พนักงานจำนวน 34 คนต้องถูกเลิกจ้างไป
ระบบปัญญาประดิษฐ์นี้ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ IBM’s Watson Explorer ที่สามารถคิดวิเคราะห์ได้เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์ ทั้งข้อมูลแบบตัวอักษร รูปภาพ คลิปเสียง และวิดีโอ
Mainichi Shimbun กล่าวว่าเทคโนโลยีนี้สามารถอ่านข้อมูลการรักษาพยาบาลจำนวนมหาศาล ประวิติการรักษา และข้อมูลการผ่าตัด ก่อนที่จะคำนวณออกมาเป็นค่ารักษาพยาบาล โดยใช้เวลาสั้นกว่าการทำงานของพนักงาน ในช่วงปีงบประมาณนี้ ระบบ AI สามารถคำนวณรายงานค่ารักษาพยาบาลได้มากถึง 132,000 ฉบับ หลังจากนั้นการอนุมัติการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกค้าจะพิจารณาโดยพนักงานอีกครั้ง
นอกจากนั้นแล้ว ระบบ AI ยังช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
จากรายงานของ Nomura Research Institute ในปี 2015 พบว่าในปี 2035 แรงงานจำนวนกว่าครึ่งภายในญี่ปุ่นจะถูกทดแทนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
บริษัท Dai-Ichi Life Insurance ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทประกันภัยที่เลือกใช้ ระบบ AI ในระบบปฏิบัติการ Watson ในการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกค้า อย่างไรก็ตามบริษัทนี้ไม่ได้มีการเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด Mainichi ยังกล่าวอีกว่า บริษัทประกันภัยหลายรายก็อยู่ในช่วงการพิจารณาในการใช้งานระบบ AI
มีรายงานจากสำนักข่าว Jiji ว่า ระบบ AI ยังสามารถทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของประเทศได้อีกด้วย กรมเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมจะนำระบบ AI มาช่วยในการเตรียมคำตอบในการประชุมของรัฐสภา คณะรัฐบาลยังหวังด้วยว่าระบบ AI นี้จะช่วยลดเวลาการทำงานของข้าราชการในการเขียนรายงาน หากระบบ AI สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลก็อาจจะเผยแพร่ระบบนี้ไปยังการทำงานด้านอื่นๆของข้าราชการด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากมีคำถามเกี่ยวกับนโยบายการลดพลังงานมายังคณะรัฐบาล ระบบ AI ก็จะจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และรายงานคำถาม-คำตอบที่เคยถูกถามมาแล้ว
อย่างไรก็ตามระบบปฏิบัติการ AI ก็อาจนำไปใช้ในเรื่องที่ไม่เหมาะสมได้เช่นกัน ดังเช่นข่าวที่นักศึกษาที่พัฒนาระบบ AI เพื่อช่วยให้ผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวในปีที่แล้วนั่นเอง Noriko Arai อาจารย์มหาวิทยาลัย National Institute of Informatics กล่าวกับสำนักข่าว Kyodo ว่า “ระบบ AI นั้นไม่สามารถใช้งานในการตอบคำถามที่ต้องใช้ทักษะในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงของหลายๆเรื่องได้”
โรงแรมที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานที่สุดในโลกนั้นมิได้อยู่ที่ปารีส ลอนดอน หรือ โรม แต่เป็นที่เมืองยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น โรงแรมนี้ถูกบันทึกไว้ใน Guinness Book of World Records ว่าเป็นโรงแรมและบ่อน้ำพุร้อน Nisiyama Onsen Keiunkan ซึ่งเปิดบริการมายาวตั้งแต่ปี 705 ส่วนโรงแรมที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 2 ก็คือโรงแรมและบ่อน้ำพุร้อน Hoshi Ryokan ที่ก่อตั้งในปี 718
ไม่เพียงแต่โรงแรมเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเป็นเจ้าของธุรกิจเก่าแก่อีกมากมาย ทั้ง Sudo Honke โรงผลิตสาเกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งในปี 1141 ก่อนที่จะถูกควบรวมกิจการในปี 2006 และ Kongo Gumi บริษัทก่อนสร้างวัด ซึ่งถือเป็นธุรกิจครอบครัวที่เปิดดำเนินกิจการมายาวนานที่สุดในโลกถึง 14 ทศวรรษ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี Yamanashi Prefecture Company บริษัทผลิตสินค้าเสื้อผ้าสำหรับพระสงฆ์ และแท่นบูชา ซึ่งดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 1024 บริษัท Ichimojiya Wasuke โรงงานขนมหวานที่เก่าแก่ที่สุด เปิดบริการในปี 1000 Nakamura Shaji บริษัทรับเหมางานก่อสร้างวัด และศาลเจ้า เปิดกิจการในปี 970 และบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดก่อตั้งขึ้นในปี 885 คือ Kyoto-based Tanaka Iga บริษัทผลิตสินค้าสำกรับพระสงฆ์
นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกในนักสำหรับประเทศดั้งเดิมอย่างญี่ปุ่น ที่มีรากฐานของการทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน จะเป็นที่รวมตัวของบริษัทเก่าแก่ในโลก แต่เป็นที่สังเกตว่า บริษัทเก่าแก่เหล่านี้มักเริ่มต้นมาจากธุรกิจของครอบครัว เช่น โรงงานผลิตสาเก และโรงแรม ที่เริ่มต้นก่อตั้งในช่วง 8 ทศวรรษ ระหว่างการเดินทางผ่านจากเมืองโตเกียว ไปยังเมืองเกียวโต Hugh Patrick ผู้อำนวยการของศูนย์ Columbia Business School’s Center กล่าวถึงธุรกิจของประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า “ ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ควบคู่กับการเติบโตของประชากรเมืองอย่างหนาแน่น” ทำให้เกิดฐานลูกค้าอย่างหนาแน่น
แต่ทั้งนี้การอธิบายว่าบริษัทเหล่านั้นเริ่มก่อตั้งมาอย่างไร คงไม่สำคัญเท่าพวกเขาบริหารงานอย่างไร ถึงสามารถรักษากิจการของครอบครัวมาได้อย่างยาวนาน David Weinstein อาจารย์ภาควิชา Japanese economy มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ให้ความคิดเห็นว่า หนึ่งองค์ประกอบในนั้นคือการให้สิทธิ์แก่บุตรคนแรกในการสืบทอดกิจการทำให้บริษัทสามารถคงอยู่ได้
แม้ในช่วงทศวรรษที่ 20 การให้สิทธิ์แก่บุตรคนแรกจะเลือนหายไป ผู้สืบทอดกิจการก็มักจะถูกส่งต่อไปให้แก่ทายาของตระกูล ดังนั้นแล้วกิจการของครอบครัวจึงไม่ถูกครอบครองโดยผู้อื่น ยกเว้นเพียงการส่งต่อกิจการให้แก่บุตรบุญธรรม (หรือเขยของตระกูล) ในปี 2011 พบว่าในจำนวนบุตรบุญธรรม 81,000 คน มีมากกว่า 90% ที่เข้ามาในตระกูลโดยการแต่งงานเข้ามาเป็นเขย หรือสะใภ้ นอกจากนั้นยังพบด้วยว่าบริษัทที่ถูกส่งต่อไปยังบุตรเขย หรือบริหารงานร่วมระหว่างทายาทตระกูล และบุตรเขยนั้น มีระบบการบริหารที่แตกต่างไปจากบริษัทที่ให้สิทธิ์บริหารแก่ทายาทโดยตรง
การส่งต่อกิจการไปยังทายาทรุ่นหลังนั้น ยังจะเป็นการการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้า ต่อยอดจากบรรพบุรุษได้ ดังที่เห็นจากบริษัทดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีครอบครัวถือครองกิจการเอง Weinstein ยังยกตัวอย่างของบริษัท Sumitomo และ บริษัท Mitsui ซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่ทั้งคู่ ที่จับมือกันก่อตั้งบริษัท SMBC ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นแล้วยังมีบริษัท Nintendo ผู้ผลิตเกมการ์ดในช่วงค.ศ. 1800 และพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารงานโดยคนในครอบครัวเดียวกัน
Hugh Whittaker จาก Nissan Institute of Japanese Studies มหาวิทยาลับออกฟอร์ด กล่าวว่า บริษัทเหล่านั้นรักษาสมดุลทั้งการสืบต่อสิ่งเดิม ไปพร้อมๆกับการพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่นี่ว่า “การทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่นนั้น เป็นไปบนพื้นฐานของความเห็นของคณะกรรมการบริษัท มากกว่าข้อเท็จจริงของแต่ละตัวเลือก” นั่นทำให้บริษัทที่มีผู้สืบทอดกิจการเป็นคนในครอบครัว สามารถบริหารงานมาได้อย่างยาวนาน หรืออาจมองได้ว่า ธุรกิจแบบครอบครัวนั้น ทำให้ผู้สืบทอดต้องมีความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของครอบครัวนั่นเอง
ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจในตลาดสากลนั้น คุณต้องให้ความสำคัญมากกว่าการเรียนรู้เรื่องภาษาที่แตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องเจรจาธุรกิจกับชาวญี่ปุ่น คุณควรทำความเข้าใจว่าลูกค้า หรือนายจ้างของคุณนั้นต้องการอะไร เพื่อเป็นประตูสู่ความก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศซึ่งมีอิทธิพลของตลาดโลก ที่ยังคงมีวัฒนธรรมและความแตกต่างกับอเมริกามาก ดังเช่นวัฒนธรรม 4 เรื่องต่อไปนี้
ความตรงไปตรงมา และการแฝงนัยยะไว้ในคำพูด
ชาวอเมริกันนั้นสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และแสดงออกในสิ่งที่พวกเขาคิด เนื่องจากวัฒนธรรมของชาวอเมริกาเชื่อว่าการพูดอ้อมค้อมนั่น แสดงออกถึงการไม่เตรียมตัว ซึ่งแตกต่างจากชาวญี่ปุ่นที่มองว่าการว่ากล่าวบุคคลื่นต่อหน้านั้น เป็นเรื่องหยาบคาย และไม่ให้เกียรติต่อคู่สนทนา
ฉะนั้นแล้วหากต้องเจรจาธุรกิจกับชาวญี่ปุ่น โปรดจำไว้เสมอว่า ชาวญี่ปุ่นนั้นระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกด้วยท่าทางไม่ว่าเรื่องใดๆก็ตาม
เรียนเพื่อทำงาน(Find Employment Plan)
ความจริง และความรู้สึก
ชาวอเมริกันนิยมสื่อสารกันด้วยความจริง และความคิดของจนอย่างตรงไป ขณะเดียวกันชาวญี่ปุ่นกลับให้ความสำคัญในการสื่อสาร หรือถกเถียงข้อขัดแย้งกันโดยระวังไม่ให้กระทบความรู้สึกของกันและกัน รวมถึงหลีกเลี่ยงการถกเถียงในที่สาธารณะ นอกจากนั้นแล้ว ชาวญี่ปุ่นมักมีความสามัคคีกันในหมู่คณะ จึงมักไม่ค่อยพบความคิดเห็นที่ขัดแย้งต่อเสียงข้างมาก
ความรวดเร็ว และความละเอียดรอบคอบ
บริษัทสัญชาติอเมริกาหลายแห่งมักตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทญี่ปุ่นที่อาศัยการประชุม และเอกสารมากมาย ก่อนที่จะมีการตัดสินใจที่ผ่านการพิจารณามาแล้วอย่างรอบคอบ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่ามันจะช่วยให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด รวมถึงนำมาซึ่งความแม่นยำในทุกระดับ
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์แบบ และคุณภาพของผลงาน พวกเขาจึงใช้เวลานานในการพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด อย่างไรก็ตามนี่อาจแสดงให้เห็นถึงขอบเขตอำนาจในการตัดสินใจของผู้บริหารเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะบริษัทที่มีโครงสร้างการบริหารขนาดใหญ่ ยิ่งทำให้ต้องอาศัยเวลาในการดำเนินเรื่องจากผู้บริหารระดับล่าง ไปยังผู้บริหารระดับสูง
การมอบของกำนัล
แม้ว่าในอดีตนั้น การมอบของขวัญจะเป็นเรื่องที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป แต่สำหรับปัจจุบันนั้น การมอบของกำนัลก็ต้องอาศัยการพิจารณาเลือกของขวัญที่เหมาะสมด้วย บางบริษัทจึงมีการตั้งข้อห้ามเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
โดยทั่วไปแล้วในการเจรจาธุรกิจกับชาวญี่ปุ่นนั้น การเลือกเลี้ยงอาหารเที่ยง หรือมอบของกำนัลที่มีราคาไม่มากนักก็เพียงพอแล้ว เพราะคุณอาจจะพบว่าวญี่ปุ่นปฏิเสธการรับของกำนัล โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นของการติดต่อธุรกิจกัน เนื่องจากพวกเขาพบว่า นั่นอาจถูกมองเป็นการรับสินบนได้
ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงการติดต่อเจรจาธุรกิจในต่างแดน ที่คุณควรระมัดระวังถึงข้อแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่อาจนำมาสู่ความสัมพันธ์ในระยะยาวได้
กว่าสองทศวรรษแล้วที่ชาวญี่ปุ่นเริ่มลงทุนในตลาดนานาชาติอย่างกว้างขวาง นำมาซึ่งโอกาสทางหน้าที่การงานที่มากขึ้น และระหว่างนี้เองที่คุณอาจจะรู้สึกสนุกสนานไปกับการทำงานกับองค์กรญี่ปุ่น
แง่บวก หรือแง่ลบ?
การร่วมงานกับองค์กรญี่ปุ่นนั้นสามารถมองในแง่บวก หรือลบก็ได้ เพราะบริษัทญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมเฉพาะตัวที่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น การติดต่อประสานงานกับเพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่น หรือบริษัทแม่ อาจเกิดความยุ่งยากอยู่บ้างจากความแตกต่างด้านภาษา และวัฒนธรรม ที่อาจจะน่าปวดหัว หรือน่าตื่นเต้นก็ได้ เช่นเดียวกันกับหน้าที่งานที่อาจไม่ได้ระบุชัดเจนทำให้คุณต้องสับสนว่าควรทำอย่างไร หรือนี่อาจเป็นแรงกระตุ้นให้คุณได้ลองทำในสิ่งใหม่ๆ นอกจากนั้นแล้วการปรับตำแหน่งของบริษัทญี่ปุ่นนั้นไม่ได้รวดเร็วเฉกเช่นบริษัทในอเมริกา และยุโรป อย่างไรก็ตามบริษัทญี่ปุ่นก็สร้างความมั่นใจในตำแหน่งงานให้คุณได้ ว่าจะไม่มีการจ้างออก
สิ่งแวดล้อมในการทำงานกับบริษัทญี่ปุ่นนั้นสามารถมองได้ทั้งสองแง่มุมขึ้นอยู่กับมุมมองส่วนตัว และนโยบายของบริษัท ที่คุณต้องทำความเข้าใจรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง
ทำการบ้านก่อนเสมอ
ก่อนการสัมภาษณ์กับบริษัทญี่ปุ่น สิ่งแรกที่คุณควรทำคือหาข้อมูลของบริษัทนั้นๆก่อนเสมอ ทั้งในเว็บไซต์ ข่าว หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ นี่ไม่ใช่เพียงการเตรียมตัวสำหรับการสัมภาษณ์งานเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่คุณจะได้เรียนรู้ถึงสไตล์การทำงานของบริษัท และค่านิยมในการจ้างงานคนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามคุณอาจจะต้องเลือกเฟ้นสิ่งพิมพ์ที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อมิให้เป็นการเอนเอียงไปยังด้านลบ หรือด้านบวกมากจนเกินไป
ในการหาข้อมูลนั้น ขอให้คุณศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลของบริษัทแม่ในประเทศญี่ปุ่นด้วย เพื่อยืนยันถึงสภาพการเงิน ความนิยมของผู้บริโภคในญี่ปุ่น และผลกระทบจากการจ้างงาน และขยายบริษัทที่มากขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1980 เป็นต้นมา นั่นทำให้คุณควรศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารงานของบริษัท เพื่อป้องกันมิให้ตัวคุณเองนั้นก้าวเดินผิดทาง
หากตำแหน่งที่คุณต้องการนั้น ต้องมีการติดต่อกับผู้บริหารชาวญี่ปุ่น คุณควรหาเวลาในการพบปะพูดคุยเป็นการส่วนตัวก่อน เช่น การเลือกสนทนาระหว่างมื้อเที่ยง หรือมื้อเย็นเพื่อที่คุณจะได้สามารถพูดคุยกันได้ในบรรยากาศที่เป็นกันเอง นั่นจะทำให้คุณรู้จักกันดีมากขึ้น เพราะหากคุณต้องร่วมงานกับชาวญี่ปุ่นแล้ว การรู้จักกันเป็นส่วนตัวจะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น ดังนั้นแล้วจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะได้ลองเรียนรู้ว่าหัวหน้างานของคุณนั้นมีความคิดเช่นไรบ้าง แม้ว่าอาจมีอุปสรรคทางด้านภาษาอยู่บ้าง แต่ขอให้คุณมองข้ามปัญหานี้ และทำความเข้าใจถึงวิสัยทัศ และทัศนคติของเขาแทน นอกจากนั้นแล้วคุณไม่ควรคาดหวังว่าทุกคนจะมีความคิดแบบชาวอเมริกัน แม้ว่าเขาจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างดีเยี่ยม หากเป็นไปได้ให้ลองพูดคุยกับผู้ร่วมงานต่างชาติในองค์กรญี่ปุ่น เกี่ยวกับมุมมองการทำงานกับบริษัท และข้อคิดเห็นอื่นๆ คุณอาจจะได้ข้อมูลดีๆสำหรับการตัดสินใจของคุณก็ได้
ประเมินศักยภาพของบริษัท
องค์กรญี่ปุ่นนั้นยึดมั่นกับวัฒนธรรมการทำงาน และความก้าวหน้าทางสายงานของพนักงานชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก ทำให้มีความหลากหลายในตำแหน่งงานโดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่ ข้อมูลต่อไปนี้คือตัวอย่างของข้อมูลที่คุณควรคำนึงถึง ในการร่วมงานกับบริษัทญี่ปุ่น;
บริษัทมีนโยบายในการจ้างงานอย่างไร (สัดส่วนของพนักงานชาวต่างชาติ และพนักงานชาวญี่ปุ่น)
ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นมีความเข้าใจพนักงานต่างชาติมากน้อยเพียงใด และมีอำนาจในการตัดสินใจจ้างออกพนักงานต่างชาติหรือไม่
ใครคือชาวต่างชาติที่อยู่ในตำแหน่งสูงสุดของบริษัท และเขาใช้เวลานานเพียงใดกว่าจะสามารถไปถึงตำแหน่งนั้นได้
นโยบายการบริหารงานของแผนก หรือสำนักงานที่คุณจะต้องร่วมงานด้วยเป็นอย่างไรบ้าง
พนักงานต่างชาติต้องติดต่อประสานงานกับบริษัทแม่ในญี่ปุ่น หรือหัวหน้างานชาวญี่ปุ่นมากน้อยเพียงใด
บริษัทจัดเตรียมโปรแกรมการอบรมความรู้ให้พนักงานมากน้อยเพียงใด
เหมาะสมกับตัวคุณหรือไม่?
สำหรับบริษัทในอเมริกานั้น พนักงานที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมาจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง และประสบความสำเร็จมากกว่า แต่กับบริษัทญี่ปุ่นแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น ข้อมูลด้านล่างนี้คือข้อที่คุณอาจพบเจอได้ทั่วไปสำหรับการทำงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น
มีความยืดหยุ่น ต้องสามารถปรับตัวกับหน้าที่งานใหม่ๆ และสามาถทำงานอื่นๆที่ได้รับมอบหมายนอกเหนือจากท่ำหนดไว้ในหน้าที่ได้
มีความคิดก้าวหน้าเสมอ
ระเอียดรอบคอบ และใส่ใจในทุกรายละเอียดของงาน
ควบคุมอารมณ์ได้ แม้ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน
มีความอดทนเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของงานได้
มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย แม้ต้องใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม
สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้
มีความเป็นมิตร มองในแง่บวก
เป็นผู้ฟังที่ดี ใส่ใจผู้พูด
มีความถ่อมตัว ไม่ดูถูกผู้อื่น
มีความอยากรู้อยากเห็นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
มีความสามารถด้านการวิเคราะห์ และเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ง่าย
มีความอ่อนโยน รักษาน้ำใจผู้ร่วมงาน
กระตือรือร้นที่จะบรรลุเป้าหมายของตนเอง และขององค์กร
การร่วมงานกับบริษัทญี่ปุ่นอาจเป็นโอกาสดีหากคุณกำลังมองหาองค์กรต่างชาติที่มีวัฒนธรรมที่แปลกใหม่ และสามารถสร้างประสบการณ์ให้กับคุณได้
หากคุณต้องร่วมงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นแล้ว กฎเหล็ก 10 ข้อนี้จะช่วยคุณเตรียมความพร้อมในการรับมือวัฒนธรรมที่แตกต่าง
5 สิงหาคม 2013 Saadi นักวรรณกรรมชาวเปอร์เซียกกล่าวว่า “นักท่องเที่ยวที่ขาดการสังเกต ก็เหมือนนกที่ไร้ปีก” คำกล่าวนี้ยังสามารถนำมาใช้ได้ดีกับนักธุรกิจที่ต้องเดินทางไปทำงานยังต่างแดน การสังเกตถึงวัฒนธรรม และมารยาทที่แตกต่างออกไปจะเป็นประตูสู่ความสำเร็จในการติดต่อสื่อสารได้ โดนเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณต้องติดต่อกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น ซึ่งองค์ประกอบเล็กๆน้อยๆทางวัฒนธรรมจะส่งผลต่อการตัดสินใจ และความสัมพันธ์ทางธุรกิจ
Boye Lafayette De Mente กล่าวไว้ใน Etiquette Guide to Japan: Know the Rules that Make the Difference ว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นตัวอย่างประเทศที่แบบแผนทางสังคมมีความเป็นทางการ ยิ่งไปกว่านั้นการวางตัวอย่างเหมาะสม ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างที่สุด และมันเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณควรจะใส่ใจในความแตกต่างทางวัฒนธรรม และธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละชนชาติ โปรดจงจำมารยาทของชาวญี่ปุ่นเหล่านี้ไว้ เพื่อให้เกียรติ และแสดงออกถึงความใส่ใจในการทำธุรกิจ
ความเงียบมีค่าดั่งทอง
ในการทำธุรกิจนั้น ความเงียบมีค่ากว่าการพูดมากจนเกินไป ดังที่ และ Edwin McDaniel บรรยายไว้ใน ว่า “ความเงียบนำไปสู่ความน่าเชื่อถือ” ความเงียบนั้นสื่อถึงวิสัยทัศ และการควบคุมอารมณ์ การนิ่งเงียบ รับฟังจะทำให้เราเข้าใจผู้พูดได้มากขึ้น การรับฟังนี้เป็นรูปแบบเริ่มต้นสำหรับการทำธุรกิจ ที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจกับชาวญี่ปุ่นได้ ดังเช่นสำนวนญี่ปุ่นหลายประโยคที่แสดงถึงความสำคัญของความเงียบนี้ เช่น “เป็ดตัวแรกที่สำเสียงดัง มักจะถูกยิงก่อน” ดังนั้นแล้วคุณจึงควรรับฟังคู่ค้าชาวญี่ปุ่นก่อนที่จะโยงไปยังวัตถุประสงค์ของคุณ
บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความเงียบอย่างชาญฉลาดว่า “ในระหว่างการประชุมที่ตึงเครียดนั้น ชาวญี่ปุ่นมักใช้ความเงียบเพื่อผ่อนคลาย และเป็นการอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่นได้เว้นระยะต่อกัน (ซึ่งเป็นการให้เกียรติกัน)” คู่ค้าชาวญี่ปุ่นมักจะหลีกเลี่ยงการเริ่มถกเถียงใหม่ แทนที่จะให้ความเงียบเข้าครอบงำในช่วงเวลานั้น
ความสามัคคีในทีมงานนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวญี่ปุ่นมีความกลมเกลียวกันในหมู่คณะ ดังนั้นแล้วความร่วมมือร่วมใจกันในทีมจึงมีค่ามากกว่าการการทำงานเพียงคนเดียว มีคำกล่าวหนึ่งซึ่งโด่งดังในญี่ปุ่นว่า “ลูกศรเพียงดอกเดียวนั้นหักได้ง่าย แต่หากรวมกันหลายดอกแล้ว ผู้ใดก็หักได้ยากยิ่ง” การบ่มเพาะวัฒนธรรมนี้นำมาสู่การยอมรับในสังคมด้วย ในขณะที่เราให้การยอมรับในตัวบุคคลที่มีความโดดเด่นนั้น ชาวญี่ปุ่นกลับเชื่อว่าการพูดถึงบุคคลใดเพียงคนเดียวในทีมนั้นเป็นเรื่องไม่สมควร ไม่ว่าผู้นั้นจะมีความสามารถเพียงใด จำไว้เสมอว่าการทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องสำคัญของชาวญี่ปุ่น หากต้องการชื่นชมในผลงานแล้วก็จะต้องเป็นไปในนามของทีมเสมอ
นามบัตรเป็นสิ่งนำโชค
ในการทำธุรกิจแบบมืออาชีพนั้น ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่านามบัตร (Meishi) แสดงถึงตัวตนของเจ้าของ ฉะนั้นแล้วการสังเกตเห็นถึงจุดเด่นของคู่สนทนาจึงเป็นมารยาทสำคัญ หากคุณยืนอยู่ ให้ใช้ทั้งสองมือในการรับนามบัตร อ่านอย่างคร่าวๆ และเก็บนามบัตรไว้ในซองเก็บบัตร แต่หากคุณกำลังนั่ง ให้วางนามบัตรไว้บนโต๊ะตลอดช่วงเวลาการประชุม และเก็บนามบัตรใส่ซองเก็บเมื่อสิ้นสุดการประชุม การเก็บนามบัตรของคู่สนทนาไว้ในกระเป๋ากางเกง หรือในกระเป๋าสตางค์เป็นเรื่องไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับชาวญี่ปุ่น หากคุณต้องการให้นามบัตรของคุณแก่คู่สนทนาแล้ว ให้ยื่นด้านที่เป็นภาษาญี่ปุ่นไปยังผู้รับ และยื่นนามบัตรด้วยมือทั้งสองข้าง ไม่ว่าคุณจะนั่งไกลผู้รับเพียงใดก็ตาม ห้ามส่งต่อนามบัตรอย่างเด็ดขาด ทางที่ดีคุณควรลุกขึ้น และเดินไปให้ด้วยตนเอง
ผู้ที่อายุที่มากกว่าย่อมได้รับการให้เกียรติ
แม้ประเทศญี่ปุ่นจะเปลี่ยนแปลงไปมากเพียงใด ผู้ที่มีอายุมากกว่ายังคงได้รับความนับถือ และสื่อถึงระดับที่สูงกว่าในการทำธุรกิจ จากการสำรวจบริษัทในตลาดหุ้น Nikkei จำนวน 225 บริษัท พบว่าตำแหน่ง CEO ในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นนั้นมีอายุเฉลี่ย 62 ปี ซึ่งมากกว่า CEO ในประเทศอื่นๆ ที่มีอายุเฉลี่ย 43 ปี ดังนั้นแล้วการให้ความสำคัญ และปฏิบัติต่อผู้ที่อาวุโสกว่าอย่างอ่อนน้อมจึงเป็นมารยาทสำคัญ เช่น คุณควรกล่าวทักทายผู้ที่อาวุโสที่สุดก่อนกล่าวทักทายผู้อื่น เช่นเดียวกับการยื่นนามบัตรให้ผู้ที่มีอาวุโสมากที่สุดเป็นคนแรก
กลยุทธ์การโฆษณาแบบมุ่งขายไม่สามารถใช้ผลได้
การโฆษณาแบบมุ่งขาย (Hard Sell) นั้นใช้ไม่ได้ผลกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น ท่านลดความกดดันในการเจรจาเรื่องยากๆ ด้วยการแสดงออกอย่างสุภาพ และการนำเสนอที่ดึงดูด จะทำให้ลูกค้ามองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น อย่าพยายามกดดันเพื่อให้เกิดการตัดสินใจอย่างทันทีทันใด เนื่องจากชาวญี่ปุ่นมักตัดสินใจด้วยความระมัดระวังเสมอ การเร่งรัดในการสนทนาจะแสดงถึงความก้าวร้าว ดังนั้นแล้วท่านควรใจเย็น และมองเห็นถึงข้อดีในการเจรจากาข้อตกลงที่ยาวนานนี้ ว่าเป็นโอกาสอันดีที่ท่านจะสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกับคู่ค้ามากขึ้น
ให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น
ชาวญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องส่วนตัวอย่างมาก ดังเช่นที่ Jeffrey Hays นักธุรกิจท่านหนึ่งกล่าวว่า “เรื่องส่วนตัว นับเป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญ พวกเขาเรียกร้องให้ลบรายชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัวออกจากสมุดหน้าเหลืองได้เสมอ เช่นเดียวกันกับการออกแบบหน้าต่าง ที่ป้องกันไม่ให้คนภายนอกเห็นเข้ามายังภายในได้” การถามคำถามถึงเรื่องส่วนตัวเมื่อแรกเริ่มการเจรจาธุรกิจนั้นจึงถือเป็นเรื่องหยาบคาย นี่อาจเป็นหนึ่งเหตุผลที่ชาวญี่ปุ่นนั้นขาดการติดต่อจากโลกภายนอกทางโซเชียลมีเดีย จากบทความใน Ad Age Digital ปี 2012 พบว่า ในระยะเวลาเดือนๆหนึ่ง มีชาวญี่ปุ่นจำนวน เพียง28% เท่านั้นที่ใช้โซเชียลมีเดีย และระยะเวลาที่ใช้ในการติดตามโซเชียลมีเดีย คือ 2.9% ในขณะที่ชาวอเมริกาติดตามโซเชียลมีเดียถึง 16.8%
อะไรที่คุณไม่รู้ ฆ่าคุณให้ตายได้
เป็นที่ทราบกันดีว่าการแลกเปลี่ยนของขวัญเป็นธรรมเนียมการทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพบกันครั้งแรก แต่สิ่งที่ผู้คนมักผิดพลาดคือการเลือกประเภทของขวัญ เช่น การมอบดอกไม้เป็นของขวัญ ดอกลิลลี่ ดอกบัว ดอกคามิลเลีย และดอกไม้สีขาวอื่นๆ เป็นดอกไม้ทีใช้ในงานศพ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงดอกไม้ประเภทนี้ กระถางต้นไม้ก็อาจเป็นสิ่งที่นำโชคร้ายมายังผู้รับได้ นอกจากนั้นแล้วการให้สิ่งของเป็นจำนวน 4 ชิ้นก็ถือเป็นลางร้าย เช่นเดียวกันกับเลข 9 นอกจากนั้นแล้ว หากคุณต้องการส่งการ์ดในเทศกาลคริสต์มาส ให้หลีกเลี่ยงสีแดง ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในการพิมพ์การ์ดงานศพ
มารยาทการใช้ตะเกียบเป็นสิ่งสำคัญ
บนเครื่องบินนั้น ผ้าขนหนู (o-shibori) ถูกเตรียมไว้สำหรับการเช็ดมือก่อนเริ่มมื้ออาหาร มิใช้สำหรับเช็ดหน้า หากคุณต้องรับประทานอาหารซึ่งไม่มีช้อนกลาง ให้ใช้ปลายตะเกียบคีบอาหารมาพักไว้ที่จานส่วนตัวของคุณ ห้ามใช้ตะเกียบจิ้ม แม้ว่าอาหารนั้นจะลื่นจนยากที่จะคีบได้ เมื่อรับประทานเสร็จแล้ว ให้คุณวางตะเกียบในลักษณะเดียวกันกับที่คุณพบครั้งแรกที่โต๊ะอาหาร นั่นคือ วางไว้บนกระดาษเช็ดปาก ที่วางตะเกียบ หรือขอบจาน คุณอาจจะแยกประเภทของซูชิได้ยากเสียหน่อยในการรับประทานครั้งแรก แต่สำหรับทุกวันนี้นั้น ซูชิได้กลายเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอเมริกาเหนือ ฉะนั้น หากเป็นไปได้ คุณควรเรียนรู้มันเสียหน่อย เพื่อแสดงถึงความสนใจในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น
ให้ความสำคัญกับการแต่งกายเสมอ
เครื่องแต่งกายคล้ายจะเป็นหนึ่งในการเจรจาไปแล้วในการทำธุรกิจ บุรุษควรเลือกสวมชุดสูท และเสื้อเชิ้ตที่เข้ากัน สำหรับสตรีให้พึงระวังในการใช้เครื่องประดับให้น้อยที่สุด เพื่อมิให้เป็นการสะดุดตาจนเกินไปนัก เช่นเดียวกันกับการสวมรองเท้าส้นสูง ควรเลือกระดับความสูงมิให้มากจนเกินไป และระวังไม่ให้สูงกว่าบุรุษที่ท่านต้องเจรจาด้วย และหากคุณต้องสวมใส่ชุดกิโมโนให้คุณจดจำคำกล่าวของ Terri Morrison ใน Doing Business in Japan ว่า “สวมแบบซ้ายทับขวา! มีเพียงผู้ตายเท่านั้นที่สวมแบบขวาทับซ้าย”
ยิ่งเรื่องเล็กน้อยยิ่งควรใส่ใจ
การให้ความสนใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆนั้นถือเป็นการแสดงความเคารพที่สำคัญสำหรับชาวญี่ปุ่น เช่น การพ่นลมหายใจโดยแรงในห้องประชุม แสดงถึงความไร้มารยาท ทางที่ดีคุณควรขอตัวออกไปด้านนอกเสียก่อน เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายเรื่องการถอดรองเท้าไว้ที่หน้าประตู และเปลี่ยนเป็นการใส่รองเท้าที่เจ้าบ้านเป็นผู้เตรียมไว้ให้ แต่นอกจากนั้นแล้ว หากเจ้าบ้านเชิญคุณเข้ามาในตัวบ้าน คุณก็ควรจะถอดรองเท้าออกเสมอเมื่อต้องก้าวเข้าสู้เสื่อทาทามิ ซึ่งเป็นที่สงวนไว้เฉพาะการเดินด้วยเท้าเปล่า หรือถุงเท้าเท่านั้น การเข้าห้องน้ำก็เช่นเดียวกันที่เจ้าของบ้านจะเตรียมรองเท้าไว้อีกคู่เพื่อใช้สำหรับห้องอาบน้ำเท่านั้น และอย่าลืมถอดมันออกเมื่อคุณกลับเข้าสู่ที่นั่งเดิม แม้เจ้าของบ้านจะไม่ได้หวังให้คุณจำทั้งหมดนี้ได้ แต่พวกเขาก็จะพึงพอใจอย่างยิ่งหากคุณทำ เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติเจ้าบ้าน ดังที่ David Syrad CEO ของบริษัท AKI Japan Ltd., กล่าวว่า “ใช้ความรู้ในเรื่องมารยามในการทำธุรกิจแบบชาวญี่ปุ่น เพื่อแสดงออกถึงความใส่ใจ และให้เกียรติ” นั่นจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ชาวญี่ปุ่นมีวิธีแสดงออกหลากหลายรูปในการปฏิเสธ แต่การเอ่ยปากอย่างตรงไปตรงมาไม่นับว่าเป็นหนึ่งในนั้น
การทำธุรกิจในระดับนานาชาตินั้นต้องอาศัยความเข้าใจถึงความแตกต่างกันของแต่ละประเทศ คุณไม่เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจความหมายที่ถูกสื่อมาโดยอ้อม แต่คุณยังจะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของผู้อื่นอีกด้วย ไม่มีข้อแตกต่างใดที่เห็นได้ชัดเท่าการแสดงการปฏิเสธของชาวอเมริกา และชาวญี่ปุ่นอีกแล้ว
หนึ่งในนั้นคือ Andrew ลูกค้าของฉัน ผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้โดยตรง
Andrew เป็นผู้จัดการแผนกการตลาดของบริษัทยาระดับโลกแห่งหนึ่ง เขาทำงานใกล้ชิดกับทั้งเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกา และชาวญี่ปุ่น เขาบอกฉันว่าเขาท้อแท้ และเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน และนี่คือที่มา…
Andrew ขอความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่น Kenji ว่าแผนงานของเขานั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด หากนำไปใช้ในญี่ปุ่น Kenji กล่าวว่า “มันอาจจะยากเสียหน่อย”
ในขณะนั้น Andrew คิดว่านี่อาจเป็นความท้าทายของเขา เขาอาจจะต้องทำงานให้หนักขึ้น หลังจากนั้น Andrew และเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกาก็ปรับปรุงแผนงานนี้อีกถึง 7 ครั้ง กระทั่งในที่สุด Andrew จึงเข้าใจคำพูดของ Kenji ว่ามันหมายถึงไม่มีทางเป็นไปได้เลยต่างหาก
Andrew กล่าวว่า “ทำไมเขาไม่บอกเราอย่างตรงไปตรงมา ว่าแผนนี้มันใช้ไม่ได้ นี่พวกเราเสียเวลาไปมากจริงๆ”
คุณคิดว่าอย่างไรบ้าง? Kenji หลอกให้เขาหลงทาง หรือเป็นที่ตัวเขาเองไม่เข้าใจสิ่งที่ Kenji สื่อถึง?
คำตอบที่ดีที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม เกี่ยวกับการปฏิเสธ
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ หลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่” เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบจิตใจผู้อื่น แต่ในที่สุดแล้ว พวกเขาก็เชื่อว่าหากไม่แสดงความคิดเห็นอย่างจริงใจ มันก็ยิ่งจะส่งผลร้ายแรงกว่า ดังนั้นการปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมาจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ
แต่สำหรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นแตกต่างออกไป พวกเขากลับหลีกเลี่ยงการปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมามากกว่า ครั้งหนึ่งฉันเคยถาม Diana Rowland เพื่อนของฉันซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประเทศญี่ปุ่น และผู้เขียนหนังสือ “Japanese Business: Rules of Engagement” เกี่ยวกับเรื่องนี้ เธออธิบายว่าสังคมญี่ปุ่นนั้นแน่นแฟ้นกันมาก การให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ฉะนั้นแล้วการการกล่าวคำว่า “ไม่” ดูคล้ายกับการปฏิเสธตัวบุคคลนั้นๆ ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรง รวบไปถึงการวิจารณ์ต่อหน้า ซึ่งถือเป็นเรื่องที่หยาบคาย
ความคิดนี้มีอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเอเชียหลายชาติ เช่น จีน และฟิลิปปินส์ด้วย การที่พวกเขาจะปฏิเสธสิ่งใดนั้น กลับกลายเป็นความคลุมเครือไปเสียหมด เช่น “ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้” อาจหมายถึง “หากเป็นฉัน ฉันจะหลีกเลี่ยงมันเสีย” หรือ “ขอฉันคิดดูก่อนนะ” อาจแปลได้ว่า “คำตอบคือ ไม่”
วัฒนธรรมการสื่อสารอย่างไม่ตรงไปตรงมาเช่นนี้รวมไปถึงการสื่อความหมายในเรื่องอื่นๆด้วย เช่น “คุณมีแผนจะเดินทางมาแถวนี้บ้างหรือไม่” อาจหมายถึง “คุณมาหาฉันหน่อยได้หรือไม่”
การตกลงก็เช่นเดียวกัน ที่คุณอาจได้ยินว่า “ผมเข้าใจคุณนะ” “ผมกำลังฟังอยู่” “ต้องทำอย่างไรต่อไป” และ “ครับ ครับ” แทนที่จะได้รับคำตอบว่า “ผมเห็นด้วยกับคุณอย่างยิ่ง”
ข้อสรุป? การสื่อสารกับชาวเอเชียนั้น ต้องทำความเข้าใจความหมายที่แอบแฝงในแต่ละประโยค
สำนวนญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “ได้ยินเพียงหนึ่ง เข้าใจถึงสิบ” หมายความว่าผู้ฟังควรเข้าใจการสื่อความของบุคคลอื่นๆ ถึง 9 คน นั่นหมายความว่า ผู้ฟังมีความรับผิดชอบที่จะต้องเข้าใจบุคคลอื่นๆได้เอง ในสังคมที่การนิ่งเงียบ เป็นส่วนหนึ่งในการสนทนา
การทำธุรกิจกับชาวเอเชียนั้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องใช้เสาอากาศในจิตใจของคุณฟัง รับความถี่เดียวกับผู้อื่น คุณจึงจะสามารถอ่านใจของผู้อื่นได้ แม้ไม่มีบทสนทนาใดๆก็ตาม นั่นอาจทำให้คุณต้องอ่านสีหน้า และท่าทางคู่สนทนาให้ได้
สำหรับการสนทนากับชาวญี่ปุ่นนั้น มีความแตกต่างน้อยมาก ดังนั้นจึงขอให้คุณใจเย็น รับฟัง สังเกตผู้พูด และเชื่อมั่นในตัวผู้ร่วมงานที่พยายามจะเติมเต็มสิ่งที่คุณขาดหายไป เมื่อคุณอดทนพอ และอ่อนน้อมถ่อมตน คุณจะเริ่มเข้าใจพวกเขา และจะสามารถ “ได้ยินเพียงหนึ่ง เข้าใจถึงสิบ”
บทความนี้สื่อถึงข้อสังเกตของผมในช่วง 6 เดือนที่ผมร่วมงานกับบริษัทสัญชาติอเมริกา และพบว่าองค์กรญี่ปุ่น และองค์กรอเมริกานั้นมีทั้งข้อแตกต่าง และข้อที่คล้ายคลึงกัน หลังจากที่ผมเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัย ผมเดินทางมายังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทำงานในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะย้ายไปร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นถึง 4 ปีเต็ม ผมดำเนินรอยตามชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ต้องการร่วมงานกับองค์กรที่มีชื่อเสียง และนี่คือสิ่งที่ผมสังเกตได้จากการร่วมงานกับบริษัท SF Tech ชั้นแนวหน้า และถูกรายล้อมไปด้วยบริษัทที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน
ข้อสังเกต วัฒนธรรมของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น
ความรวดเร็ว หรือความแม่นยำ การตัดสินใจขององค์กรญี่ปุ่นนั้น เป็นไปตามลำดับขั้นการบริหาร ฉะนั้นการตัดสินใจเรื่องหนึ่งๆ มักเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และในบางครั้งใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจนานกว่าองค์กรอเมริกา เนื่องจากต้องอาศัยการประชุม และการทำเอกสาร ด้วยเหตุนี้เองข้อผิดพลาดที่ตามมาจึงน้อย และมีความแม่นยำในงานสูง
ตัวพนักงาน หรือทีมงาน บริษัทญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าพนักงานทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีม และยึดกับความสำเร็จของภาพรวมทั้งทีม เพราะหากทีมไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ตัวพนักงานก็ไม่มีความหมาย
การคืนทุนของโปรเจค หรือการคืนทุนของทุกกระบวนการ บริษัทญี่ปุ่นนั้นการคำนวณการคืนทุนเช่นเดียวกับบริษัทอเมริกา แต่พวกเขามักยึดติดกับการคำนวณ ROI ในทุกกระบวนการของโปรเจค โดยแยกคิดงบประมาณในทุกๆขั้นตอน ซึ่งแตกต่างกับบริษัทอเมริกาที่คิด ROI รวมทั้งโปรเจค
ความท้าทาย หรือความถี่ถ้วน แม้ว่าจะมีความมั่นใจเต็ม 100% ชาวญี่ปุ่นก็จะไม่รับปาก ที่ต้องระมัดระวังเช่นนี้ เป็นชาวญี่ปุ่นไม่ต้องการผิดคำพูด หากเกิดข้อผิดพลาดแม้เล็กน้อยก็ตาม ซึ่งนั่นอาจจะส่งผลด้านลบกลับมา
ปัจเจกบุคคล หรือความสามัคคี โดยทั่วไปแล้วบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น จะบริหารโดยชาวญี่ปุ่นซึ่งมีพื้นฐานทางด้านวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ทำให้พวกเขาสามารถเข้าใจกันได้ แม้ไม่มีการสื่อสารใดๆ นี่จึงเป็นทักษะด้านการสื่อสารที่จำเป็นในประเทศญี่ปุ่น
ใช้เวลาของตนเอง หรือให้เวลาแก่ผู้อื่น การจัดการประชุมเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น เนื่องจากการตัดสินใจในงานใดงานหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนเสียก่อน นั่นทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องเข้าร่วมการประชุมหลายต่อหลายครั้ง และใช้เวลาในประชุมยาวนาน
การสื่อสารทางไกล หรือการพูดคุยแบบเห็นหน้ากัน ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการประชุมที่ต้องมีการสนทนาต่อหน้า เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้พวกเขาดำเนินธุรกิจ และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าไว้ได้นั่นเอง
การทำงานแบบยืดหยุ่น หรือการทำงานที่มีแบบแผน โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นจะมีช่วงเวลาในการทำงานที่แน่นอน พนักงานจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานที่บ้าน บรรยากาศการทำงานถูกจัดให้คล้ายคลึงกับการเรียนในโรงเรียน ซึ่งที่นั่งของหัวหน้าแผนกจะอยู่บริเวณหัวโต๊ะ ส่วนพนักงานคนอื่นๆจะนั่งทำงานรวมกัน โดยไม่มีห้องส่วนตัว หรือผนังกั้น
กองทุนส่วนตัว หรือกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ พนักงานที่ทำงานในองค์กรญี่ปุ่นมักได้รับเงินกองทุนที่บริษัทเป็นผู้สนับสนุน นอกเหนือจากการจ่ายค่าจ้างประจำเดือน ยิ่งพนักงานร่วมงานกับบริษัทมายาวนานเท่าไร จำนวนเงินกองทุนก็จะเพิ่มขึ้นตามด้วย
ใช้ชีวิตส่วนตัว หรือใช้ชีวิตแบบมืออาชีพ สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของชาวญี่ปุ่นคือการทำงาน ที่ทำงานจึงกลายเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของทุกคน และมักมีวัฒนธรรมที่สืบต่ออันมา เช่น พนักงานใหม่จะต้องเป็นผู้จองสถานที่สำหรับการสังสรรค์และชมดอกไม้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (Hanami) และการสังสรรค์ในเวลาหลังเลิกงานของเพื่อนร่วมงาน (Nomikai) ที่พนักงานจะได้ใช้เวลาในการสนทนาร่วมกัน
การทำงานของชาวญี่ปุ่นมีหลากหลายรูปแบบ
ในปัจจุบันนั้น เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้รูปแบบการทำงานแบบใด เราจะทำงานแบบพนักงานประจำ หรือพนักงานรูปแบบพิเศษ ที่มีทั้งในรูปของพนักงานพาร์ทไทม์ (หรือ Arbeit) พนักงานสัญญาจ้างจากบริษัทนายหน้าก็ได้
จากการสำรวจการจ้างงาน ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2013 ของสำนักงานสถิติ กระทรวงต่างประเทศ พบว่าในประเทศญี่ปุ่นมีการจ้างงานพนักงานมากถึง 52,050,000 คน ในจำนวนนั้น มีพนักงานประจำ 32,950,000 คน และพนักงานสัญญาจ้าง 19,080,000 คน นั้นหมายความว่ามากกว่า 30%ของพนักงานในญี่ปุ่น เป็นพนักงานแบบพิเศษ นอกจากนั้นยังพบด้วยว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้ ในปี 2012 พนักงานประจำมีจำนวนลดลงถึง 320,000 คน ในขณะที่พนักงานแบบพิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 790,000 คน เมื่อเปรียบเทีบยกับในช่วงปี 1980 ที่ผ่านมากนั้นพนักงานสัญญาจ้างนั้นมีเพียง 1 ใน 7 คน นี่แสดงให้เห็นว่าการทำงานรูปแบบพิเศษได้รับความนิยมสูงขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ในจำนวนพนักงานทั้งหมดนี้ มีพนักงานพาร์ทไทม์จำนวน 13,270,000 คน พนักงานที่อยู่ระหว่างการพักงาน 1,100,000 คน พนักงานประจำ 3,930,000 คน และอื่นๆ อีกเป็นจำนวน 780,000 คน จึงสามารถกล่าวได้ว่าพนักงานพาร์ทไทม์คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 70% นอกจากนั้นแล้วพนักงานรูปแบบพิเศษนี้ มีสัดส่วนของเพศชาย 30% (6,110,000 คน) และเพศหญิงถึง 70% (12,970,000 คน)
สาเหตุของความแตกต่างในการเลือกรูปแบบการทำงาน : 1. เหตุผลจากมุมมองของตัวพนักงานเอง
สาเหตุที่พนักงานประจำมีจำนวนลดลง ในขณะที่พนักงานแบบพิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาจาก 2 สาเหตุ คือ มุมมองของตัวพนักงาน และมุมมองของนายจ้าง
มุมมองของตัวพนักงาน สามารถแบ่งออกได้ทั้งในปัจจัยเชิงบวก และเชิงลบ
ในเชิงด้านบวกนั้น พนักงานอาจมองว่าการเลือกทำงานไม่ประจำ ทำให้จำนวนชั่วโมง หรือวันทำงานมีความยืดหยุ่น ยกตัวอย่างเช่น แม่บ้าน และนักศึกษาซึ่งมักเลือกทำงานพาร์ทไทม์ที่ไม่กระทบต่องานบ้าน หรือการเรียน นอกจากนั้นพวกเขายังสามารถเลือกทำงาน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน หรือเพียง 2-3 วันต่อสัปดาห์ได้
ในทางกลับกันก็ยังมีปัจจัยเชิงลบที่ทำให้พนักงานเลือกทำงานในรูปแบบพิเศษนี้ เช่น พวกเขาไม่สามารถหางานประจำได้ ในช่วงค.ศ. 1990 ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะติดลบ (Lost Decade) การจ้างงานจึงหยุดลง นักศึกษาจบใหม่ตกงานมากขึ้น ทำให้ในช่วงนั้นผู้คนเริ่มมองหาการทำงานในรูปแบบพิเศษมากขึ้น แม้ต่อมาพวกเขาจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำแล้วก็ตาม ก็ยังพบว่ามีบางส่วนที่ยึดการทำงานในรูปแบบพิเศษนี้เพื่อการหาเลี้ยงชีพ
จากการสำรวจของกระทรวงสุขภาพ และแรงงานสัมพันธ์ ในปี 2010 พบว่าพนักงานรูปแบบพิเศษนี้ เลือกทำงานลักษณะนี้จากปัจจัยเชิงบวก 40% และจากปัจจัยเชิงลบ 20%
สาเหตุของความแตกต่างในการเลือกรูปแบบการทำงาน : 2. เหตุผลจากมุมมองของนายจ้าง
นอกจากเหตุผลที่มาจากตัวพนักงานเองแล้ว เหตุผลซึ่งมากจากตัวนายจ้างเองก็มีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานในรูปแบบพิเศษขึ้นเช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจขนส่ง ร้านอาหาร และการบริการมักเลือกจ้างพนักงานในรูปแบบพิเศษ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเหล่านี้มักได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละปี กล่าวคือมักมีผลประกอบการที่ไม่แน่นอน ในช่วงเวลาที่พนักงานประจำไม่เพียงพอ พนักงานรูปแบบพิเศษจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้เกิดการจ้างงานในรูปแบบสัญญาจ้างมากขึ้น
เหตุผลถัดมาคือค่าตอบแทนที่ต่ำกว่า เนื่องจากพนักงานรูปแบบพิเศษมักได้รับค่าจ้างน้อยกว่าพนักงานประจำ ทำให้เห็นได้ชัดว่าสภาพเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในทุกๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น นายจ้างชาวญี่ปุ่นหลายรายเลือกจ้างแรงงานชาวจีน และแรงงานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้มีค่าแรงที่ถูกกว่าแรงงานชาวญี่ปุ่นเอง ฉะนั้นการเลือกจ้างแรงงานในแบบพิเศษจึงช่วงลดรายจ่ายของนายจ้างลงได้
เหตุผลสุดท้าย คือ ผลกระทบจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้งานหลายด้านไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการทำงานอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการจัดการข้อมูล ในอดีตนั้นงานเช่นนี้มักต้องใช้แรงงานคนที่มีทักษะในการรวบรวม และจัดลำดับข้อมูล แต่ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงทำให้นายจ้างสามารถลดความจำเป็นในการฝึกอบรมพนักงานจนเชี่ยวชาญ ทำให้การจ้างงานพนักงานที่ไม่มีทักษะก็เพียงพอในการทำงานเหล่านั้นได้
รูปแบบการทำงานในอนาคต
จำนวนแรงงานในประเทศญี่ปุ่นกำลังหดตัว อันเนื่องมาจากอัตราการเกิดที่ต่ำลง ส่งผลสตรีและคนชรามีโอกาสเข้าถึงการจ้างงานมากขึ้น แต่พวกเขาอาจต้องพบกับความยากลำบากในการมองหางานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดูแลครอบครัว สุขภาพ ความสมดุลระหว่างงาน และชีวิตส่วนตัวหากกฎหมายแรงงานยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ความแตกต่างของรูปแบบการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ยังจะส่งผลกระทบต่องานผีมือ ที่อาจถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร แรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านซึ่งเครื่องจักรไม่สามารถเข้าถึงได้จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ในขณะเดียวกันแรงงานที่มีทักษะในการควบคุมเครื่องจักรก็ย่อมเป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วย จึงเห็นได้ว่าความต้องการของทั้งนายจ้าง และลูกจ้างในอนาคตส่งผลต่อรูปแบบการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น