Categories
เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นลงทุนกว่าร้อยล้านในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน

Pepper หุ่นยนต์แอนดรอยด์ ที่พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran และ Japanese group Softbank ได้รับการเปิดตัวในงาน the Viva Technology ที่จัดขึ้น ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 16 มิถุนายน 2017 ที่ผ่านมา

ในครั้งหนึ่งนั้นบริษัทกูเกิลมีชื่อเสียงในด้าน bankrolling moonshots ที่เป็นผู้พัฒนายานพาหนะที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติ สายกูเกิลไฟเบอร์ สำหรับนำส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และบริษัทผลิตหุ่นยนต์ Boston Dynamics
ถัดมาในปี 2015 บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนผู้ถือหุ้น และก้าวสู่องค์กรแห่งความคิดที่ไม่อยู่ภายใต้บริษัทกูเกิลอีกต่อไป นอกจากนั้นยัง เปลี่ยนไปสู่การมีวิสัยทัศที่สุขุม และระมัดระวังมากขึ้น Ruth Porat CFO ของบริษัท Alphabet กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะสืบต่อชื่อเสียง และผลงานของบริษัท เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีประสิทธิภาพของสินค้า โดยมุ่งเน้นในการใส่ใจทุกรายละเอียดของทรัพยากร” หรือในอีกทางหนึ่งคือจากรากฐานของกูเกิลไฟเบอร์ ทำให้ Alphabet มีช่องทางการขายที่กว้างขึ้น หนึ่งในนั้นคือคู่ค้าใหม่จากประเทศญี่ปุ่น บริษัทในเครือ Softbank ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการขายสินค้าเทคโนโลยี
บริษัท Softbank เป็นที่รู้จักในนามของบริษัทแม่ของ Sprint ในอเมริกา แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ Softbank เป็นที่รู้จักในชื่อของนักลงทุนด้านธุรกิจเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี โดยเริ่มจากระบบขับขี่อัตโนมัติในรถโดยสาร การลงทุนด้านอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม OneWeb ที่ก่อตั้งโดยพนักงานจากบริษัทกูเกิลเดิม ที่มีมูลค่าถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าครอบครองกิจการของสองบริษัทใหญ่ นั่นคือ Boston Dynamics และ Schaft นอกจากนั้นบริษัทยังประกาศเจตนารมณ์ในการลงทุนด้านเทคโนโลยีด้าน quantum computing สูงถึง 10000 ล้านเหรียญสหรัฐ
เช่นเดียวกันกับ Larry Page, Elon Musk และ Jeff Bezos นาย Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ SoftBank เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในอนาคต เขากล่าวว่า “ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเข้าใกล้ขึ้นมาทุกทีแล้ว” ในระหว่างงานสัมมนา ARM’s developer ปีที่แล้ว “สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความคิดของผมคือการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในทุกกิจกรรม นั่นทำให้ผมลงทุนมูลค่ากล่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนา และนี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น”
ลงทุนสูง ความเสี่ยงมาก
นาย Son เริ่มก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับซอฟแวร์ในปี 1981 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์แทน จากมิตรภาพด้านธุรกิจกับ Yahoo บริษัทได้ก่อตั้ง Yahoo Japan ขึ้นในปี 1996 และก่อตั้ง Ziff Davis บริษัทสิ่งพิมพ์ถัดมาในปี 1999
Softbank เริ่มธุรกิจในการเสนอการให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตในช่วงปี 2000 และก้าวสู่บริษัท Japan Telecom บริษัทโทรคมนาคมในปี 2004 ต่อมาได้เริ่มต้นบริษัท Vodaphone’s Japanese ในปี 2006 และ Sprint ในปี 2012 แต่บริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือการลงทุนใน Alibaba ในปี 2005
และเมื่อไม่นานมานี้ Softbank ก็ได้เข้าครอบครองบริษัทหุ่นยนต์ในประเทศฝรั่งเศส Aldebaran ที่เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่สามารถแสดงอารมณ์ได้ชื่อ Pepper นอกจากนั้นยังเข้าสู่ตลาดผู้ให้บริการขนส่ง Asia’s GrabTaxi, China’s Didi Chuxing, และ Lyf ในนามของ Fortress Investment Group ในด้าน E-Commerce Softbank ยังลงทุนใน Coupang ของเกาหลีใต้เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 20015 และบริษัท Paytm ของอินเดียมูลค่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท Nvidia ผู้ผลิตชิ้นส่วนของระบบปัญญาประดิษฐ์อีกจำนวน 410 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่นอกจากนโนบายการพัฒนาระบบ AI แล้ว นาย Son ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการพิจารณาเข้าซื้อกิจการใดๆโดยเฉพาะ
หากคุณลองคิดดูเล่นๆ ก็อาจจะสงสัยว่า SoftBank มีเงินทุนในการทำหลายๆโปรเจคได้อย่างไร นี่เป็นเพราะ Son ได้ตัดสินใจขายบริษัท SoftBank ในราคา 790 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้เป็นหนึ่งในบริษัท Alibaba ยังผลให้เขาสามารถมรผลกำไรในการก่อตั้งบริษัท ARM ผู้ผลิตชิ้นส่วนโทรศัพท์ และแทบเล็ต ที่มีมูลค่าสูงถึง 320 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากผู้ถือหุ้นอื่นๆ ทั้ง Apple, Qualcomm, และ Saudi Arabia ที่ร่วมลงทุนด้วย อย่างไรก็ตามเงินลงทุนนี้ก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการระดมเงินกองทุนเพิ่มเติม ประกอบกับการขาดทุนกว่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐจากการควบรวมกิจการ OneWeb และ Intelsat ทำให้ SoftBank จึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม
กูเกิลจึงต้องหวังพึ่งกำไรจากการเสี่ยงลงทุนในธุรกิจด้านสื่อโฆษณา เพื่อออกเงินกู้ยืมแก่ SoftBank นั่นหมายความว่า หากเกมนี้ไม่ได้ผล SoftBankจะขาดทุนและปิดตัวลง อย่างที่ไม่ค่อยเป็นบ่อยนักกับบริษัทที่กูเกิลหนุนหลังอยู่ เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าการลงทุนนั้นไม่มีความเสี่ยงเลย

Categories
งาน

มุมมองของชาวต่างชาติต่อวัฒนธรรมการทำงานในบริษัทญี่ปุ่น

ฉันร่วมงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ในเมืองโตเกียวมา 2-3 ปีแล้ว ฉันเป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยคนแรกของบริษัท ทำให้ฉันได้เห็นมุมมองการทำงานของบริษัทญี่ปุ่นใน ที่พวกเขาพยายามรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ไว้พร้อมๆกับการก้าวเข้าสู่ธุรกิจระดับโลก
แม้ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสหรัฐอเมริกามาช้านาน โดยเฉพาะด้านการเมือง แต่อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นก็ยังสามารถคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน และรูปแบบการทำงาน

หางานบริษัทญี่ปุ่นในไทย
Careerlink Recruitment Thailand : มีงานบริษัทญี่ปุ่น

towaiwai.com : หางานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย

เลือกรับพนักงานที่เหมาะกับวัฒนธรรมบริษัท แม้จะไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย
ตอนที่บริษัทเปิดที่ฉันทำงานอยู่นั้น เปิดสาขาในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ฉันและผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้เข้าสมัครงานกว่าร้อยคน ข้อแตกต่างที่ฉันพบคือ ผู้ร่วมงานของฉันถามคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ และความเข้าใจในตนเองของผู้สมัคร รวมไปถึงการวางแผนในอนาคตของผู้สมัคร เช่นเดียวกันกับบริษัทชาติตะวันตกที่มักถามคำถามแบบเดียวกันนี้ แต่ฉันกลับพบว่าคำถามเชิงเทคนิค และความรู้เฉพาะทางพบได้น้อยมากในการสัมภาษณ์งานของบริษัทญี่ปุ่น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะบริษัทญี่ปุ่นเลือกเฟ้นพนักงานที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการทำงาน และเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทต้องพิจารณา เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นจะเป็นผู้ร่วมงานกับเรา อย่างน้อยที่สุด พนักงานเหล่านั้นจะได้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดที่สุด นอกเหนือสิ่งอื่นใด การที่พนักงานมีความเชื่อในสิ่งที่บริษัทกำลังดำเนินธุรกิจอยู่นั้น ก็จะเป็นผลดีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้งานที่ดียิ่งขึ้น แม้ว่าในปีแรกนั้นพนักงานเข้าใหม่มักได้รับหน้าที่ในการรับโทรศัพท์ ชงชา และทำตามคำสั่งของพนักงานรุ่นพี่ แต่ช่วงขณะนั้นเองพนักงานใหม่ก็จะได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการทำงาน และการทำงานแบบมืออาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เพื่อนของฉันได้รับข้อเสนอจากบริษัท Honda ตอนนั้นเพื่อนของฉันบอกว่าตัวเธอเอง ยังไม่ทราบว่าแม้กระทั่งว่าตนเองนั้นได้รับตำแหน่งใด และมีหน้าที่อะไรบ้าง ในวันแรกของการทำงานนั้นเธอไปเรียนรู้งานจากหลายๆแผนก ฉันเองก็เคนได้รับข้อเสนอให้โยกย้ายไปทำงานในแผนกบุคคลในช่วงเดือนแรกของการทำงานเช่นเดียวกัน แม้ว่าตอนนั้นฉันเองทำงานด้าน UX Consultant อยู่ก็ตาม นี่ทำให้เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทญี่ปุ่นคือความสำเร็จขององค์กรมากกว่าความสำเร็จของพนักงานคนใดคนหนึ่ง
มันจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ในการรับสมัครพนักงานใหม่นั้น บริษัทจะให้ความสนใจกับมหาวิทยาลัยที่ผู้สมัครงานจบมา มากกว่าสาขาวิชา ยิ่งจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ผู้สมัครท่านนั้นก็ยิ่งได้เปรียบ ในหลายประเทศนั้นผู้ที่เรียนได้รับปริญญาโท มักได้รับค่าจ้างสูงกว่าผู้ที่จบวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ไม่ใช่กับประเทศญี่ปุ่น
เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทชาติตะวันตก ประเทศญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับความสำเร็จขององค์กรในภาพใหญ่มากกว่า นี่เป็นเหตุผลให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งเป้าหมายของชีวิตตัวเองไว้ แต่กลับมองหาบริษัทที่มีวิสัยทัศ มีชื่อเสียง และพยายามอย่างหนักให้ได้ร่วมงานกับบริษัทเหล่านั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบริษัทนั้นๆ
แล้วชาวต่างชาติจะปรับตัวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างไร
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นหลายบริษัทมองหาพนักงานชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อเปิดตลาดในสาขาต่างประเทศ แม้ว่าผู้สมัครงานเหล่านั้นจะไม่มีทักษะด้านภาษาญี่ปุ่นเลย บริษัทเหล่านั้นก็ให้การต้อนรับเช่นเดียวกับผู้สมัครชาวญี่ปุ่นเอง แต่นี่อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในการทำงานตามมาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่มีพนักงานต่างชาติ เป็นชาวยุโรป หรืออเมริกา ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นแล้วการที่พนักงานต่างชาติที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน หรือสามารถสื่อสารกับชาวญี่ปุ่นได้ จะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ฉันพบว่าสำหรับชาวจีน และไต้หวันแล้วเป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น นั่นเพราะวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และข้อได้เปรียบด้านภาษา ที่ชาวจีนสามารถเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วชาวเอเชียก็มีหน้าตาที่กลมกลืนกับชาวญี่ปุ่น ทำให้พนักงานเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นด้วยกัน
สำหรับฉันเองซึ่งพูดภาษาญี่ปุ่นได้น้อยมาก กลับพบว่าในบางครั้งมันกลับเอื้อประโยชน์ในการทำงาน ซึ่งฉันเคยพบเมื่อต้องประชุมร่วมกับลูกค้าชาวญี่ปุ่น ฉันเป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวในที่ประชุม ในครั้งนั้นแผนงานโครงการกระชั้นชิดมากทีเดียว ฉันขอข้อมูลบางอย่างจากทางลูกค้า พวกเข้าถามกลับมาว่าต้องการข้อมูลนี้เมื่อไร ในตอนนั้นเองฉันตอบกลับว่าฉันต้องการข้อมูลภายในวันพรุ่งนี้ ลูกค้าชาวญี่ปุ่นเริ่มหัวเราะซึ่งฉันเองก็ไม่ทราบว่ามาจากสาเหตุใด หลังจากจบการประชุม ผู้ร่วมงานชาวญี่ปุ่นเอ่ยปากว่า หากไม่ใช่เพราะฉันแล้ว พวกเราคงไม่ได้ข้อมูลในระยะเวลาสั้นเพียงเท่านี้ เพราะมันไม่สุภาพเลยที่เราขอให้ลูกค้าเตรียมข้อมูลให้เราภายในวันรุ่งขึ้น แต่ฉันกลับกลายเป็นบุคคลซึ่งไม่ถูกเหมารวมไปด้วย เนื่องจากฉันเป็นชาวต่างชาติ
การต่อรองกับลูกค้าชาวญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเบื่อ เพราะชาวญี่ปุ่นนั้นใช้เวลาในการตัดสินใจนาน โดยเฉพาะการตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศของบริษัท พวกเขาต้องมีการวิเคราะห์ที่ถี่ถ้วนเสียก่อน จึงเสียเวลาเปล่าที่จะบ่นเรื่องความล่าช้าของระบบงานแบบญี่ปุ่น ใครคนหนึ่งเคยบอกความลับให้ฉันว่า หากต้องการให้งานผ่านพิจารณาอย่างรวดเร็ว ฉันจะต้องแสดงข้อมูลที่มีการวิเคราะห์มาเรียบร้อยแล้วไปกับงานนั้นๆด้วย
ฉันเคยใช้วิธีนี้กับนายจ้างที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งอยู่ครั้งหนึ่ง มันเป็นงานเกี่ยวกับเงินเดือน และค่าเดินทางของพนักงาน ในสาขาต่างประเทศ ฉันพบว่าการที่ตระเตรียมข้อมูลมารองรับการถกเถียงนั้น ทำให้ฉันผ่านงานจุกจิกมาได้มากทีเดียว
ความเข้าใจของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อคนต่างชาติ
ข้อมูลจากนายจ้างชาวญี่ปุ่น พบว่าพนักงานต่างชาติมักมีความสามารถในการนำเสนอที่ดี หัวหน้าแผนกบุคคลของฉันท่านหนึ่งอธิบายว่า เขาประหลาดใจมากที่พนักงานชาวต่างชาติมีความมั่นใจเมื่ออยู่ต่อหน้าลูกค้า พนักงานเหล่านั้นมักได้เปรียบในเรื่องภาษาอังกฤษ แต่กลับมักได้รับคำตำหนิในเรื่องความขยันหมั่นเพียร เพราะพนักงานชาวต่างชาติมักมองหาความสมดุลเรื่องงาน และชีวิตส่วนตัว ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากพนักงานชาวญี่ปุ่นต้องเข้าทำงานสาย แม้เพียง 2-3 นาที เขาจะส่งอีเมล์แจ้งทุกคนในบริษัท หรืออย่างน้อยในแผนก เพื่อแสดงความขอโทษ และรับปากเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก แต่หากเป็นพนักงานชาวต่างชาติ เช่นพนักงานชาวจีน การมาทำงานสายเพียงเล็กน้อยนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย เช่นเดียวกับการลาป่วยของชาวญี่ปุ่นที่ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดที่พนักงานไม่สามารถรับผิดชอบ จัดการเรื่องของตนเองได้ และแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ สำหรับเรื่องนี้นั้น ฉันเองก็เคยถูกมองเช่นนั้น เมื่อครั้งที่ฉันบอกหัวหน้างานว่าฉันรู้สึกไม่สบาย และอยากจะขอลาป่วยระยะสั้นๆ แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อพบเจอสถานการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นมองว่าชาวต่างชาตินั้นไม่สามารถเชื่อถือได้
ฉันต้องใช้เวลานานพอดูสำหรับการสร้างความเชื่อใจในการทำงานกับชาวญี่ปุ่น คุณต้องทำงานอย่างหนัก หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เพราะความเชื่อใจนั้นอาจถูกลบล้างได้ด้วยความผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตามคุณก็ไม่อาจได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นเดียวกับที่พนักงานชาวญี่ปุ่นได้รัย แม้ว่าคุณจะทำงานได้ดีมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม
แล้วฉันควรจะทำงานในญี่ปุ่นดีไหม?
สิ่งที่ฉันกล่าวมาข้างต้นนั้น มักพบเจอมากในบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ และบริษัทตั้งเดิมที่ยึดถือกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาก แต่กับบริษัทข้ามชาติ เช่น Google และ Mckinsey ยังคงใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตก ฉันเองนั้นโชคดีที่ได้ร่วมงานกับบริษัทญี่ปุ่นสมัยใหม่ ที่คงวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นเพียงบางเรื่องเท่านั้น
การทำงานในญี่ปุ่นนั้นอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับชาวต่างชาติ แต่หากพวกคุณได้ลองดูสักครั้งแล้ว อาจจะต้องตกหลุมรักกับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อาหารรสเลิศ ความสวยงามของฤดูกาล บ้านเมืองที่สะอาด และปลอดภัย

Categories
งาน

บริษัทญี่ปุ่นใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ทดแทนแรงงานคน

การใช้เครื่องจักร และระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทดแทนการทำงานของมนุษย์ในอนาคตนั้น ดูเหมือนจะกลายเป็นจริงไปอย่างรวดเร็วเสียแล้วสำหรับบริษัทประกันภัยในประเทศญี่ปุ่น ที่พนักงานจำนวน 30 คน ในตำแหน่งงานคำนวณค่าชดเชยประกันได้ถูกจ้างออก และทดแทนการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์แทน
จากการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานนี้ บริษัท Fukoku Mutual Life Insurance เชื่อว่าจะสามารถเพิ่มผลประกอบการได้สูงถึง 30% และจะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว บริษัทจะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้จาก 200 ล้านเยนต่อปี ให้เหลือเพียง 140 ล้านเยนต่อปี ในเดือนนี้เองที่ระบบ AI ได้ถูกนำมาใช้ในการทำงานของบริษัท และมีค่าใช้จ่ายเพียงปีละ 15 ล้านเยนเท่านั้น อย่างไรก็ตามการตัดสินใจใช้ระบบ AI ในการทำงานของบริษัทก็ทำให้พนักงานจำนวน 34 คนต้องถูกเลิกจ้างไป
ระบบปัญญาประดิษฐ์นี้ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ IBM’s Watson Explorer ที่สามารถคิดวิเคราะห์ได้เช่นเดียวกับสมองของมนุษย์ ทั้งข้อมูลแบบตัวอักษร รูปภาพ คลิปเสียง และวิดีโอ
Mainichi Shimbun กล่าวว่าเทคโนโลยีนี้สามารถอ่านข้อมูลการรักษาพยาบาลจำนวนมหาศาล ประวิติการรักษา และข้อมูลการผ่าตัด ก่อนที่จะคำนวณออกมาเป็นค่ารักษาพยาบาล โดยใช้เวลาสั้นกว่าการทำงานของพนักงาน ในช่วงปีงบประมาณนี้ ระบบ AI สามารถคำนวณรายงานค่ารักษาพยาบาลได้มากถึง 132,000 ฉบับ หลังจากนั้นการอนุมัติการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ลูกค้าจะพิจารณาโดยพนักงานอีกครั้ง
นอกจากนั้นแล้ว ระบบ AI ยังช่วยแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
จากรายงานของ Nomura Research Institute ในปี 2015 พบว่าในปี 2035 แรงงานจำนวนกว่าครึ่งภายในญี่ปุ่นจะถูกทดแทนด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์
บริษัท Dai-Ichi Life Insurance ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทประกันภัยที่เลือกใช้ ระบบ AI ในระบบปฏิบัติการ Watson ในการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้แก่ลูกค้า อย่างไรก็ตามบริษัทนี้ไม่ได้มีการเลิกจ้างพนักงานแต่อย่างใด Mainichi ยังกล่าวอีกว่า บริษัทประกันภัยหลายรายก็อยู่ในช่วงการพิจารณาในการใช้งานระบบ AI
มีรายงานจากสำนักข่าว Jiji ว่า ระบบ AI ยังสามารถทำงานในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของประเทศได้อีกด้วย กรมเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรมจะนำระบบ AI มาช่วยในการเตรียมคำตอบในการประชุมของรัฐสภา คณะรัฐบาลยังหวังด้วยว่าระบบ AI นี้จะช่วยลดเวลาการทำงานของข้าราชการในการเขียนรายงาน หากระบบ AI สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลก็อาจจะเผยแพร่ระบบนี้ไปยังการทำงานด้านอื่นๆของข้าราชการด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากมีคำถามเกี่ยวกับนโยบายการลดพลังงานมายังคณะรัฐบาล ระบบ AI ก็จะจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และรายงานคำถาม-คำตอบที่เคยถูกถามมาแล้ว
อย่างไรก็ตามระบบปฏิบัติการ AI ก็อาจนำไปใช้ในเรื่องที่ไม่เหมาะสมได้เช่นกัน ดังเช่นข่าวที่นักศึกษาที่พัฒนาระบบ AI เพื่อช่วยให้ผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวในปีที่แล้วนั่นเอง Noriko Arai อาจารย์มหาวิทยาลัย National Institute of Informatics กล่าวกับสำนักข่าว Kyodo ว่า “ระบบ AI นั้นไม่สามารถใช้งานในการตอบคำถามที่ต้องใช้ทักษะในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงของหลายๆเรื่องได้”