Categories
งาน

มุมมองของชาวต่างชาติต่อวัฒนธรรมการทำงานในบริษัทญี่ปุ่น

ฉันร่วมงานกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ในเมืองโตเกียวมา 2-3 ปีแล้ว ฉันเป็นชาวต่างชาติ ที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยคนแรกของบริษัท ทำให้ฉันได้เห็นมุมมองการทำงานของบริษัทญี่ปุ่นใน ที่พวกเขาพยายามรักษาเอกลักษณ์ของชาติ ไว้พร้อมๆกับการก้าวเข้าสู่ธุรกิจระดับโลก
แม้ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสหรัฐอเมริกามาช้านาน โดยเฉพาะด้านการเมือง แต่อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นก็ยังสามารถคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน และรูปแบบการทำงาน

หางานบริษัทญี่ปุ่นในไทย
Careerlink Recruitment Thailand : มีงานบริษัทญี่ปุ่น

towaiwai.com : หางานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย

เลือกรับพนักงานที่เหมาะกับวัฒนธรรมบริษัท แม้จะไม่มีประสบการณ์การทำงานเลย
ตอนที่บริษัทเปิดที่ฉันทำงานอยู่นั้น เปิดสาขาในต่างประเทศเป็นครั้งแรก ฉันและผู้ก่อตั้งบริษัทเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้เข้าสมัครงานกว่าร้อยคน ข้อแตกต่างที่ฉันพบคือ ผู้ร่วมงานของฉันถามคำถามเกี่ยวกับความเชื่อ และความเข้าใจในตนเองของผู้สมัคร รวมไปถึงการวางแผนในอนาคตของผู้สมัคร เช่นเดียวกันกับบริษัทชาติตะวันตกที่มักถามคำถามแบบเดียวกันนี้ แต่ฉันกลับพบว่าคำถามเชิงเทคนิค และความรู้เฉพาะทางพบได้น้อยมากในการสัมภาษณ์งานของบริษัทญี่ปุ่น
ที่เป็นเช่นนั้น เพราะบริษัทญี่ปุ่นเลือกเฟ้นพนักงานที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการทำงาน และเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่บริษัทต้องพิจารณา เนื่องจากพนักงานเหล่านั้นจะเป็นผู้ร่วมงานกับเรา อย่างน้อยที่สุด พนักงานเหล่านั้นจะได้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดที่สุด นอกเหนือสิ่งอื่นใด การที่พนักงานมีความเชื่อในสิ่งที่บริษัทกำลังดำเนินธุรกิจอยู่นั้น ก็จะเป็นผลดีที่ทำให้เกิดการเรียนรู้งานที่ดียิ่งขึ้น แม้ว่าในปีแรกนั้นพนักงานเข้าใหม่มักได้รับหน้าที่ในการรับโทรศัพท์ ชงชา และทำตามคำสั่งของพนักงานรุ่นพี่ แต่ช่วงขณะนั้นเองพนักงานใหม่ก็จะได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการทำงาน และการทำงานแบบมืออาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วง 2-3 ปีที่แล้ว เพื่อนของฉันได้รับข้อเสนอจากบริษัท Honda ตอนนั้นเพื่อนของฉันบอกว่าตัวเธอเอง ยังไม่ทราบว่าแม้กระทั่งว่าตนเองนั้นได้รับตำแหน่งใด และมีหน้าที่อะไรบ้าง ในวันแรกของการทำงานนั้นเธอไปเรียนรู้งานจากหลายๆแผนก ฉันเองก็เคนได้รับข้อเสนอให้โยกย้ายไปทำงานในแผนกบุคคลในช่วงเดือนแรกของการทำงานเช่นเดียวกัน แม้ว่าตอนนั้นฉันเองทำงานด้าน UX Consultant อยู่ก็ตาม นี่ทำให้เห็นได้ว่าสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทญี่ปุ่นคือความสำเร็จขององค์กรมากกว่าความสำเร็จของพนักงานคนใดคนหนึ่ง
มันจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ในการรับสมัครพนักงานใหม่นั้น บริษัทจะให้ความสนใจกับมหาวิทยาลัยที่ผู้สมัครงานจบมา มากกว่าสาขาวิชา ยิ่งจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ผู้สมัครท่านนั้นก็ยิ่งได้เปรียบ ในหลายประเทศนั้นผู้ที่เรียนได้รับปริญญาโท มักได้รับค่าจ้างสูงกว่าผู้ที่จบวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี แต่ไม่ใช่กับประเทศญี่ปุ่น
เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทชาติตะวันตก ประเทศญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับความสำเร็จขององค์กรในภาพใหญ่มากกว่า นี่เป็นเหตุผลให้ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งเป้าหมายของชีวิตตัวเองไว้ แต่กลับมองหาบริษัทที่มีวิสัยทัศ มีชื่อเสียง และพยายามอย่างหนักให้ได้ร่วมงานกับบริษัทเหล่านั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของบริษัทนั้นๆ
แล้วชาวต่างชาติจะปรับตัวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างไร
ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นหลายบริษัทมองหาพนักงานชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อเปิดตลาดในสาขาต่างประเทศ แม้ว่าผู้สมัครงานเหล่านั้นจะไม่มีทักษะด้านภาษาญี่ปุ่นเลย บริษัทเหล่านั้นก็ให้การต้อนรับเช่นเดียวกับผู้สมัครชาวญี่ปุ่นเอง แต่นี่อาจเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในการทำงานตามมาภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่มีพนักงานต่างชาติ เป็นชาวยุโรป หรืออเมริกา ซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ฉะนั้นแล้วการที่พนักงานต่างชาติที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกัน หรือสามารถสื่อสารกับชาวญี่ปุ่นได้ จะทำให้ทำงานได้ง่ายขึ้น ฉันพบว่าสำหรับชาวจีน และไต้หวันแล้วเป็นหนึ่งในกลุ่มนั้น นั่นเพราะวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน และข้อได้เปรียบด้านภาษา ที่ชาวจีนสามารถเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้ง่ายกว่าชาติอื่นๆ นอกจากนั้นแล้วชาวเอเชียก็มีหน้าตาที่กลมกลืนกับชาวญี่ปุ่น ทำให้พนักงานเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นด้วยกัน
สำหรับฉันเองซึ่งพูดภาษาญี่ปุ่นได้น้อยมาก กลับพบว่าในบางครั้งมันกลับเอื้อประโยชน์ในการทำงาน ซึ่งฉันเคยพบเมื่อต้องประชุมร่วมกับลูกค้าชาวญี่ปุ่น ฉันเป็นชาวต่างชาติเพียงคนเดียวในที่ประชุม ในครั้งนั้นแผนงานโครงการกระชั้นชิดมากทีเดียว ฉันขอข้อมูลบางอย่างจากทางลูกค้า พวกเข้าถามกลับมาว่าต้องการข้อมูลนี้เมื่อไร ในตอนนั้นเองฉันตอบกลับว่าฉันต้องการข้อมูลภายในวันพรุ่งนี้ ลูกค้าชาวญี่ปุ่นเริ่มหัวเราะซึ่งฉันเองก็ไม่ทราบว่ามาจากสาเหตุใด หลังจากจบการประชุม ผู้ร่วมงานชาวญี่ปุ่นเอ่ยปากว่า หากไม่ใช่เพราะฉันแล้ว พวกเราคงไม่ได้ข้อมูลในระยะเวลาสั้นเพียงเท่านี้ เพราะมันไม่สุภาพเลยที่เราขอให้ลูกค้าเตรียมข้อมูลให้เราภายในวันรุ่งขึ้น แต่ฉันกลับกลายเป็นบุคคลซึ่งไม่ถูกเหมารวมไปด้วย เนื่องจากฉันเป็นชาวต่างชาติ
การต่อรองกับลูกค้าชาวญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าเบื่อ เพราะชาวญี่ปุ่นนั้นใช้เวลาในการตัดสินใจนาน โดยเฉพาะการตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศของบริษัท พวกเขาต้องมีการวิเคราะห์ที่ถี่ถ้วนเสียก่อน จึงเสียเวลาเปล่าที่จะบ่นเรื่องความล่าช้าของระบบงานแบบญี่ปุ่น ใครคนหนึ่งเคยบอกความลับให้ฉันว่า หากต้องการให้งานผ่านพิจารณาอย่างรวดเร็ว ฉันจะต้องแสดงข้อมูลที่มีการวิเคราะห์มาเรียบร้อยแล้วไปกับงานนั้นๆด้วย
ฉันเคยใช้วิธีนี้กับนายจ้างที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งอยู่ครั้งหนึ่ง มันเป็นงานเกี่ยวกับเงินเดือน และค่าเดินทางของพนักงาน ในสาขาต่างประเทศ ฉันพบว่าการที่ตระเตรียมข้อมูลมารองรับการถกเถียงนั้น ทำให้ฉันผ่านงานจุกจิกมาได้มากทีเดียว
ความเข้าใจของชาวญี่ปุ่นที่มีต่อคนต่างชาติ
ข้อมูลจากนายจ้างชาวญี่ปุ่น พบว่าพนักงานต่างชาติมักมีความสามารถในการนำเสนอที่ดี หัวหน้าแผนกบุคคลของฉันท่านหนึ่งอธิบายว่า เขาประหลาดใจมากที่พนักงานชาวต่างชาติมีความมั่นใจเมื่ออยู่ต่อหน้าลูกค้า พนักงานเหล่านั้นมักได้เปรียบในเรื่องภาษาอังกฤษ แต่กลับมักได้รับคำตำหนิในเรื่องความขยันหมั่นเพียร เพราะพนักงานชาวต่างชาติมักมองหาความสมดุลเรื่องงาน และชีวิตส่วนตัว ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากพนักงานชาวญี่ปุ่นต้องเข้าทำงานสาย แม้เพียง 2-3 นาที เขาจะส่งอีเมล์แจ้งทุกคนในบริษัท หรืออย่างน้อยในแผนก เพื่อแสดงความขอโทษ และรับปากเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก แต่หากเป็นพนักงานชาวต่างชาติ เช่นพนักงานชาวจีน การมาทำงานสายเพียงเล็กน้อยนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย เช่นเดียวกับการลาป่วยของชาวญี่ปุ่นที่ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาดที่พนักงานไม่สามารถรับผิดชอบ จัดการเรื่องของตนเองได้ และแสดงถึงความไม่เป็นมืออาชีพ สำหรับเรื่องนี้นั้น ฉันเองก็เคยถูกมองเช่นนั้น เมื่อครั้งที่ฉันบอกหัวหน้างานว่าฉันรู้สึกไม่สบาย และอยากจะขอลาป่วยระยะสั้นๆ แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อพบเจอสถานการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง ก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นมองว่าชาวต่างชาตินั้นไม่สามารถเชื่อถือได้
ฉันต้องใช้เวลานานพอดูสำหรับการสร้างความเชื่อใจในการทำงานกับชาวญี่ปุ่น คุณต้องทำงานอย่างหนัก หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เพราะความเชื่อใจนั้นอาจถูกลบล้างได้ด้วยความผิดพลาดเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตามคุณก็ไม่อาจได้รับความไว้วางใจเฉกเช่นเดียวกับที่พนักงานชาวญี่ปุ่นได้รัย แม้ว่าคุณจะทำงานได้ดีมาเป็นเวลาหลายปีก็ตาม
แล้วฉันควรจะทำงานในญี่ปุ่นดีไหม?
สิ่งที่ฉันกล่าวมาข้างต้นนั้น มักพบเจอมากในบริษัทญี่ปุ่นขนาดใหญ่ และบริษัทตั้งเดิมที่ยึดถือกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาก แต่กับบริษัทข้ามชาติ เช่น Google และ Mckinsey ยังคงใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบตะวันตก ฉันเองนั้นโชคดีที่ได้ร่วมงานกับบริษัทญี่ปุ่นสมัยใหม่ ที่คงวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นเพียงบางเรื่องเท่านั้น
การทำงานในญี่ปุ่นนั้นอาจเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับชาวต่างชาติ แต่หากพวกคุณได้ลองดูสักครั้งแล้ว อาจจะต้องตกหลุมรักกับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อาหารรสเลิศ ความสวยงามของฤดูกาล บ้านเมืองที่สะอาด และปลอดภัย