Categories
เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นลงทุนกว่าร้อยล้านในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อทดแทนการใช้แรงงานคน

Pepper หุ่นยนต์แอนดรอยด์ ที่พัฒนาโดยบริษัท Aldebaran และ Japanese group Softbank ได้รับการเปิดตัวในงาน the Viva Technology ที่จัดขึ้น ณ เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 16 มิถุนายน 2017 ที่ผ่านมา

ในครั้งหนึ่งนั้นบริษัทกูเกิลมีชื่อเสียงในด้าน bankrolling moonshots ที่เป็นผู้พัฒนายานพาหนะที่มีระบบขับขี่อัตโนมัติ สายกูเกิลไฟเบอร์ สำหรับนำส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง และบริษัทผลิตหุ่นยนต์ Boston Dynamics
ถัดมาในปี 2015 บริษัทได้มีการปรับเปลี่ยนผู้ถือหุ้น และก้าวสู่องค์กรแห่งความคิดที่ไม่อยู่ภายใต้บริษัทกูเกิลอีกต่อไป นอกจากนั้นยัง เปลี่ยนไปสู่การมีวิสัยทัศที่สุขุม และระมัดระวังมากขึ้น Ruth Porat CFO ของบริษัท Alphabet กล่าวว่า “เรามุ่งมั่นที่จะสืบต่อชื่อเสียง และผลงานของบริษัท เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความมีประสิทธิภาพของสินค้า โดยมุ่งเน้นในการใส่ใจทุกรายละเอียดของทรัพยากร” หรือในอีกทางหนึ่งคือจากรากฐานของกูเกิลไฟเบอร์ ทำให้ Alphabet มีช่องทางการขายที่กว้างขึ้น หนึ่งในนั้นคือคู่ค้าใหม่จากประเทศญี่ปุ่น บริษัทในเครือ Softbank ที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการขายสินค้าเทคโนโลยี
บริษัท Softbank เป็นที่รู้จักในนามของบริษัทแม่ของ Sprint ในอเมริกา แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ Softbank เป็นที่รู้จักในชื่อของนักลงทุนด้านธุรกิจเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยี โดยเริ่มจากระบบขับขี่อัตโนมัติในรถโดยสาร การลงทุนด้านอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม OneWeb ที่ก่อตั้งโดยพนักงานจากบริษัทกูเกิลเดิม ที่มีมูลค่าถึง 120 ล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าครอบครองกิจการของสองบริษัทใหญ่ นั่นคือ Boston Dynamics และ Schaft นอกจากนั้นบริษัทยังประกาศเจตนารมณ์ในการลงทุนด้านเทคโนโลยีด้าน quantum computing สูงถึง 10000 ล้านเหรียญสหรัฐ
เช่นเดียวกันกับ Larry Page, Elon Musk และ Jeff Bezos นาย Masayoshi Son ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ SoftBank เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีในอนาคต เขากล่าวว่า “ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงเข้าใกล้ขึ้นมาทุกทีแล้ว” ในระหว่างงานสัมมนา ARM’s developer ปีที่แล้ว “สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความคิดของผมคือการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ในทุกกิจกรรม นั่นทำให้ผมลงทุนมูลค่ากล่า 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการพัฒนา และนี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น”
ลงทุนสูง ความเสี่ยงมาก
นาย Son เริ่มก่อตั้งบริษัทเกี่ยวกับซอฟแวร์ในปี 1981 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์แทน จากมิตรภาพด้านธุรกิจกับ Yahoo บริษัทได้ก่อตั้ง Yahoo Japan ขึ้นในปี 1996 และก่อตั้ง Ziff Davis บริษัทสิ่งพิมพ์ถัดมาในปี 1999
Softbank เริ่มธุรกิจในการเสนอการให้บริการสัญญาณอินเตอร์เน็ตในช่วงปี 2000 และก้าวสู่บริษัท Japan Telecom บริษัทโทรคมนาคมในปี 2004 ต่อมาได้เริ่มต้นบริษัท Vodaphone’s Japanese ในปี 2006 และ Sprint ในปี 2012 แต่บริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือการลงทุนใน Alibaba ในปี 2005
และเมื่อไม่นานมานี้ Softbank ก็ได้เข้าครอบครองบริษัทหุ่นยนต์ในประเทศฝรั่งเศส Aldebaran ที่เป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ที่สามารถแสดงอารมณ์ได้ชื่อ Pepper นอกจากนั้นยังเข้าสู่ตลาดผู้ให้บริการขนส่ง Asia’s GrabTaxi, China’s Didi Chuxing, และ Lyf ในนามของ Fortress Investment Group ในด้าน E-Commerce Softbank ยังลงทุนใน Coupang ของเกาหลีใต้เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 20015 และบริษัท Paytm ของอินเดียมูลค่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัท Nvidia ผู้ผลิตชิ้นส่วนของระบบปัญญาประดิษฐ์อีกจำนวน 410 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่นอกจากนโนบายการพัฒนาระบบ AI แล้ว นาย Son ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการพิจารณาเข้าซื้อกิจการใดๆโดยเฉพาะ
หากคุณลองคิดดูเล่นๆ ก็อาจจะสงสัยว่า SoftBank มีเงินทุนในการทำหลายๆโปรเจคได้อย่างไร นี่เป็นเพราะ Son ได้ตัดสินใจขายบริษัท SoftBank ในราคา 790 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้เป็นหนึ่งในบริษัท Alibaba ยังผลให้เขาสามารถมรผลกำไรในการก่อตั้งบริษัท ARM ผู้ผลิตชิ้นส่วนโทรศัพท์ และแทบเล็ต ที่มีมูลค่าสูงถึง 320 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากผู้ถือหุ้นอื่นๆ ทั้ง Apple, Qualcomm, และ Saudi Arabia ที่ร่วมลงทุนด้วย อย่างไรก็ตามเงินลงทุนนี้ก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้ต้องมีการระดมเงินกองทุนเพิ่มเติม ประกอบกับการขาดทุนกว่า 140 ล้านเหรียญสหรัฐจากการควบรวมกิจการ OneWeb และ Intelsat ทำให้ SoftBank จึงตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม
กูเกิลจึงต้องหวังพึ่งกำไรจากการเสี่ยงลงทุนในธุรกิจด้านสื่อโฆษณา เพื่อออกเงินกู้ยืมแก่ SoftBank นั่นหมายความว่า หากเกมนี้ไม่ได้ผล SoftBankจะขาดทุนและปิดตัวลง อย่างที่ไม่ค่อยเป็นบ่อยนักกับบริษัทที่กูเกิลหนุนหลังอยู่ เพราะไม่มีใครรับประกันได้ว่าการลงทุนนั้นไม่มีความเสี่ยงเลย

Categories
เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น

ทีมาของธุรกิจที่สืบทอดมาอย่างยาวนานในประเทศญี่ปุ่น

โรงแรมที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานที่สุดในโลกนั้นมิได้อยู่ที่ปารีส ลอนดอน หรือ โรม แต่เป็นที่เมืองยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น โรงแรมนี้ถูกบันทึกไว้ใน Guinness Book of World Records ว่าเป็นโรงแรมและบ่อน้ำพุร้อน Nisiyama Onsen Keiunkan ซึ่งเปิดบริการมายาวตั้งแต่ปี 705 ส่วนโรงแรมที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 2 ก็คือโรงแรมและบ่อน้ำพุร้อน Hoshi Ryokan ที่ก่อตั้งในปี 718
ไม่เพียงแต่โรงแรมเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเป็นเจ้าของธุรกิจเก่าแก่อีกมากมาย ทั้ง Sudo Honke โรงผลิตสาเกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งในปี 1141 ก่อนที่จะถูกควบรวมกิจการในปี 2006 และ Kongo Gumi บริษัทก่อนสร้างวัด ซึ่งถือเป็นธุรกิจครอบครัวที่เปิดดำเนินกิจการมายาวนานที่สุดในโลกถึง 14 ทศวรรษ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี Yamanashi Prefecture Company บริษัทผลิตสินค้าเสื้อผ้าสำหรับพระสงฆ์ และแท่นบูชา ซึ่งดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 1024 บริษัท Ichimojiya Wasuke โรงงานขนมหวานที่เก่าแก่ที่สุด เปิดบริการในปี 1000 Nakamura Shaji บริษัทรับเหมางานก่อสร้างวัด และศาลเจ้า เปิดกิจการในปี 970 และบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดก่อตั้งขึ้นในปี 885 คือ Kyoto-based Tanaka Iga บริษัทผลิตสินค้าสำกรับพระสงฆ์
นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกในนักสำหรับประเทศดั้งเดิมอย่างญี่ปุ่น ที่มีรากฐานของการทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน จะเป็นที่รวมตัวของบริษัทเก่าแก่ในโลก แต่เป็นที่สังเกตว่า บริษัทเก่าแก่เหล่านี้มักเริ่มต้นมาจากธุรกิจของครอบครัว เช่น โรงงานผลิตสาเก และโรงแรม ที่เริ่มต้นก่อตั้งในช่วง 8 ทศวรรษ ระหว่างการเดินทางผ่านจากเมืองโตเกียว ไปยังเมืองเกียวโต Hugh Patrick ผู้อำนวยการของศูนย์ Columbia Business School’s Center กล่าวถึงธุรกิจของประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า “ ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ควบคู่กับการเติบโตของประชากรเมืองอย่างหนาแน่น” ทำให้เกิดฐานลูกค้าอย่างหนาแน่น
แต่ทั้งนี้การอธิบายว่าบริษัทเหล่านั้นเริ่มก่อตั้งมาอย่างไร คงไม่สำคัญเท่าพวกเขาบริหารงานอย่างไร ถึงสามารถรักษากิจการของครอบครัวมาได้อย่างยาวนาน David Weinstein อาจารย์ภาควิชา Japanese economy มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ให้ความคิดเห็นว่า หนึ่งองค์ประกอบในนั้นคือการให้สิทธิ์แก่บุตรคนแรกในการสืบทอดกิจการทำให้บริษัทสามารถคงอยู่ได้
แม้ในช่วงทศวรรษที่ 20 การให้สิทธิ์แก่บุตรคนแรกจะเลือนหายไป ผู้สืบทอดกิจการก็มักจะถูกส่งต่อไปให้แก่ทายาของตระกูล ดังนั้นแล้วกิจการของครอบครัวจึงไม่ถูกครอบครองโดยผู้อื่น ยกเว้นเพียงการส่งต่อกิจการให้แก่บุตรบุญธรรม (หรือเขยของตระกูล) ในปี 2011 พบว่าในจำนวนบุตรบุญธรรม 81,000 คน มีมากกว่า 90% ที่เข้ามาในตระกูลโดยการแต่งงานเข้ามาเป็นเขย หรือสะใภ้ นอกจากนั้นยังพบด้วยว่าบริษัทที่ถูกส่งต่อไปยังบุตรเขย หรือบริหารงานร่วมระหว่างทายาทตระกูล และบุตรเขยนั้น มีระบบการบริหารที่แตกต่างไปจากบริษัทที่ให้สิทธิ์บริหารแก่ทายาทโดยตรง
การส่งต่อกิจการไปยังทายาทรุ่นหลังนั้น ยังจะเป็นการการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้า ต่อยอดจากบรรพบุรุษได้ ดังที่เห็นจากบริษัทดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีครอบครัวถือครองกิจการเอง Weinstein ยังยกตัวอย่างของบริษัท Sumitomo และ บริษัท Mitsui ซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่ทั้งคู่ ที่จับมือกันก่อตั้งบริษัท SMBC ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นแล้วยังมีบริษัท Nintendo ผู้ผลิตเกมการ์ดในช่วงค.ศ. 1800 และพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารงานโดยคนในครอบครัวเดียวกัน
Hugh Whittaker จาก Nissan Institute of Japanese Studies มหาวิทยาลับออกฟอร์ด กล่าวว่า บริษัทเหล่านั้นรักษาสมดุลทั้งการสืบต่อสิ่งเดิม ไปพร้อมๆกับการพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่นี่ว่า “การทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่นนั้น เป็นไปบนพื้นฐานของความเห็นของคณะกรรมการบริษัท มากกว่าข้อเท็จจริงของแต่ละตัวเลือก” นั่นทำให้บริษัทที่มีผู้สืบทอดกิจการเป็นคนในครอบครัว สามารถบริหารงานมาได้อย่างยาวนาน หรืออาจมองได้ว่า ธุรกิจแบบครอบครัวนั้น ทำให้ผู้สืบทอดต้องมีความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของครอบครัวนั่นเอง