Categories
วัฒนธรรม

กฎเพียงข้อเดียวของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ที่อาจเปลี่ยนธุรกิจของคุณได้

ชาวญี่ปุ่นมีวิธีแสดงออกหลากหลายรูปในการปฏิเสธ แต่การเอ่ยปากอย่างตรงไปตรงมาไม่นับว่าเป็นหนึ่งในนั้น
การทำธุรกิจในระดับนานาชาตินั้นต้องอาศัยความเข้าใจถึงความแตกต่างกันของแต่ละประเทศ คุณไม่เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจความหมายที่ถูกสื่อมาโดยอ้อม แต่คุณยังจะต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมของผู้อื่นอีกด้วย ไม่มีข้อแตกต่างใดที่เห็นได้ชัดเท่าการแสดงการปฏิเสธของชาวอเมริกา และชาวญี่ปุ่นอีกแล้ว
หนึ่งในนั้นคือ Andrew ลูกค้าของฉัน ผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้โดยตรง
Andrew เป็นผู้จัดการแผนกการตลาดของบริษัทยาระดับโลกแห่งหนึ่ง เขาทำงานใกล้ชิดกับทั้งเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกา และชาวญี่ปุ่น เขาบอกฉันว่าเขาท้อแท้ และเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน และนี่คือที่มา…
Andrew ขอความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานชาวญี่ปุ่น Kenji ว่าแผนงานของเขานั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด หากนำไปใช้ในญี่ปุ่น Kenji กล่าวว่า “มันอาจจะยากเสียหน่อย”
ในขณะนั้น Andrew คิดว่านี่อาจเป็นความท้าทายของเขา เขาอาจจะต้องทำงานให้หนักขึ้น หลังจากนั้น Andrew และเพื่อนร่วมงานชาวอเมริกาก็ปรับปรุงแผนงานนี้อีกถึง 7 ครั้ง กระทั่งในที่สุด Andrew จึงเข้าใจคำพูดของ Kenji ว่ามันหมายถึงไม่มีทางเป็นไปได้เลยต่างหาก
Andrew กล่าวว่า “ทำไมเขาไม่บอกเราอย่างตรงไปตรงมา ว่าแผนนี้มันใช้ไม่ได้ นี่พวกเราเสียเวลาไปมากจริงๆ”
คุณคิดว่าอย่างไรบ้าง? Kenji หลอกให้เขาหลงทาง หรือเป็นที่ตัวเขาเองไม่เข้าใจสิ่งที่ Kenji สื่อถึง?
คำตอบที่ดีที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม เกี่ยวกับการปฏิเสธ
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ หลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่” เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบจิตใจผู้อื่น แต่ในที่สุดแล้ว พวกเขาก็เชื่อว่าหากไม่แสดงความคิดเห็นอย่างจริงใจ มันก็ยิ่งจะส่งผลร้ายแรงกว่า ดังนั้นการปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมาจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำ
แต่สำหรับวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นแตกต่างออกไป พวกเขากลับหลีกเลี่ยงการปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมามากกว่า ครั้งหนึ่งฉันเคยถาม Diana Rowland เพื่อนของฉันซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประเทศญี่ปุ่น และผู้เขียนหนังสือ “Japanese Business: Rules of Engagement” เกี่ยวกับเรื่องนี้ เธออธิบายว่าสังคมญี่ปุ่นนั้นแน่นแฟ้นกันมาก การให้เกียรติซึ่งกันและกันเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ฉะนั้นแล้วการการกล่าวคำว่า “ไม่” ดูคล้ายกับการปฏิเสธตัวบุคคลนั้นๆ ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรง รวบไปถึงการวิจารณ์ต่อหน้า ซึ่งถือเป็นเรื่องที่หยาบคาย
ความคิดนี้มีอยู่ในวัฒนธรรมของชาวเอเชียหลายชาติ เช่น จีน และฟิลิปปินส์ด้วย การที่พวกเขาจะปฏิเสธสิ่งใดนั้น กลับกลายเป็นความคลุมเครือไปเสียหมด เช่น “ไม่ใช่ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้” อาจหมายถึง “หากเป็นฉัน ฉันจะหลีกเลี่ยงมันเสีย” หรือ “ขอฉันคิดดูก่อนนะ” อาจแปลได้ว่า “คำตอบคือ ไม่”
วัฒนธรรมการสื่อสารอย่างไม่ตรงไปตรงมาเช่นนี้รวมไปถึงการสื่อความหมายในเรื่องอื่นๆด้วย เช่น “คุณมีแผนจะเดินทางมาแถวนี้บ้างหรือไม่” อาจหมายถึง “คุณมาหาฉันหน่อยได้หรือไม่”
การตกลงก็เช่นเดียวกัน ที่คุณอาจได้ยินว่า “ผมเข้าใจคุณนะ” “ผมกำลังฟังอยู่” “ต้องทำอย่างไรต่อไป” และ “ครับ ครับ” แทนที่จะได้รับคำตอบว่า “ผมเห็นด้วยกับคุณอย่างยิ่ง”
ข้อสรุป? การสื่อสารกับชาวเอเชียนั้น ต้องทำความเข้าใจความหมายที่แอบแฝงในแต่ละประโยค
สำนวนญี่ปุ่นกล่าวไว้ว่า “ได้ยินเพียงหนึ่ง เข้าใจถึงสิบ” หมายความว่าผู้ฟังควรเข้าใจการสื่อความของบุคคลอื่นๆ ถึง 9 คน นั่นหมายความว่า ผู้ฟังมีความรับผิดชอบที่จะต้องเข้าใจบุคคลอื่นๆได้เอง ในสังคมที่การนิ่งเงียบ เป็นส่วนหนึ่งในการสนทนา
การทำธุรกิจกับชาวเอเชียนั้น สิ่งสำคัญคือคุณต้องใช้เสาอากาศในจิตใจของคุณฟัง รับความถี่เดียวกับผู้อื่น คุณจึงจะสามารถอ่านใจของผู้อื่นได้ แม้ไม่มีบทสนทนาใดๆก็ตาม นั่นอาจทำให้คุณต้องอ่านสีหน้า และท่าทางคู่สนทนาให้ได้
สำหรับการสนทนากับชาวญี่ปุ่นนั้น มีความแตกต่างน้อยมาก ดังนั้นจึงขอให้คุณใจเย็น รับฟัง สังเกตผู้พูด และเชื่อมั่นในตัวผู้ร่วมงานที่พยายามจะเติมเต็มสิ่งที่คุณขาดหายไป เมื่อคุณอดทนพอ และอ่อนน้อมถ่อมตน คุณจะเริ่มเข้าใจพวกเขา และจะสามารถ “ได้ยินเพียงหนึ่ง เข้าใจถึงสิบ”