Categories
งาน

ญี่ปุ่นร่างนโยบายเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน

รัฐบาลญี่ปุ่นรวบรวมแผนงานในการปฏิรูปการทำงาน เพื่อลดการทำงานหนัก และลดความเท่าเทียมกันของรายได้
สำนักงานนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจัดการประชุม ขึ้น นาย Shinzo Abe ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมนี้ว่า “จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงการทำงานในประเทศญี่ปุ่น จะถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ปี 2017 นี้”
ร่างนโยบายนี้มีจุดประสงค์เพื่อลบล้างวัฒนธรรมการทำงานหนักของชาวญี่ปุ่น นับตั้งแต่ช่วงสิ้นสุดสงครามเป็นต้นมา
นาย Shinzo Abe ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “หากเราไม่ผลักดันร่างนโยบายนี้ให้สำเร็จ สิ่งที่เราเพียรพยายามมาก็สูญเปล่า” ก่อนหน้านี้นาย Shinzo Abe ริเริ่มโครงการสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ซึ่งรวบรวมผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา เพื่อร่วมพิจารณาแนวทางในการลดการทำงานหนัก และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพนักงานที่ไม่ได้ทำงานประจำ
คณะกรรมการได้ร่างแนวทางโดยคำนึงถึงความท่าเทียมของรายได้ และปริมาณงานที่ลูกจ้างได้รับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา และในช่วงเดือนนี้เอง ข้อตกลง 3 ด้านผ่านการพิจารณาของรัฐบาล ลูกจ้าง และนายจ้างในการวางกรอบการทำงานล่วงเวลา
ชั่วโมงการทำงานล่วงเวลานั้นได้ถูกกำหนดขึ้นให้ไม่เกิน 45 ชั่วโมงต่อเดือน หรือ 360 ชั่วโมงต่อปี หากต้องทำงานล่วงเวลานานกว่าที่ระบุได้ถึง 720 ชั่วโมงต่อปี ต้องเป็นไปตามข้อตกลงของทั้งนายจ้าง และลูกจ้าง นอกเหนือจากนั้นหากต้องมีการทำงานล่วงเวลามากกว่าที่กำหนดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ข้อตกลงนี้ได้ระบุให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 100 ชั่วโมงต่อเดือน

เวลาทำงานในประเทศญี่ปุ่น(Wikipedia)

แม้ว่าองค์การธุรกิจญี่ปุ่น หรือที่รู้จักในนาม Keidanren จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานล่วงเวลาของพนักงานไว้แล้วก็ตาม พวกเขาก็แสดงความคิดเห็นต่อร่างนโยบายนี้ว่าอาจเป็นการทำลายความตั้งใจทำงานของตัวพนักงานเอง แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา ก็เป็นไปตามคำแนะนำของรัฐบาล
จากสถิติการทำงาน พบว่าพนักงานพาร์ทไทม์ และลูกจ้างรายวันมีสัดส่วนมากถึง 40% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด การสนับสนุนรายได้ที่เท่าเทียมจะช่วยลดช่องว่างทางรายได้ และเป็นการบังคับให้นายจ้างเป็นธรรมต่อลูกจ้างมากขึ้น
นอกจากนั้นแล้ว จุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ นาย Abe กล่าวว่ารายได้ทั้งของนายจ้าง และลูกจ้างในปี 2017 จะต้องสูงขึ้นเทียบเท่ากับปีที่ผ่านมาให้ได้ และในอีก 4 ปีข้างหน้าค่าแรงขั้นต่ำจะต้องมีการปรับให้สูงขึ้นอีก
ร่างนโยบายนี้กำหนดให้ค่าแรงขั้นต่ำมีการปรับสูงขึ้นประมาณ 3% ต่อปี หรือประมาณ 1,000 เยน (9.03 ดอลลาร์) ต่อชั่วโมง
การพิจารณานี้ยังรวมไปถึงปัญหาแรงงาน และการย้ายถิ่นฐานเพื่อไปทำงานในเมืองอุตสาหกรรมอีกด้วย เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการโยกย้ายงาน และจ้างแรงงานหญิงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วการทำงานผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการทำงานที่บ้านถูกก็ยกขึ้นมาพูดถึงมากขึ้น หากแต่ยังไม่มีนโยบายใดที่ร่างขึ้นเพื่อส่งเสริมการทำงานในรูปแบบเช่นนี้
ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป ทางคณะกรรมการจะเป็นผู้เผยแพร่นโยบายนี้ โดยมีกำหนดให้นายจ้าง และลูกจ้างเริ่มดำเนินการปรับตัว และบังคับใช้จริงในปีงบประมาณ 2019 หลังจากนั้นการติดตามผลการดำเนินงานจะสิ้นสุดลงในปี 2026
อย่างไรก็ตาม นาย Sadayuki Sakakibara ประธานองค์การธุรกิจญี่ปุ่น Keidanren ก็ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า ในการร่างนโยบายใดๆขึ้นนั้น พวกเขาเองก็หวังว่า รัฐบาลจะพิจารณาสาระสำคัญของร่าง จากความคิดเห็นของทั้งนายจ้าง และลูกจ้างเป็นหลัก