โรงแรมที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานที่สุดในโลกนั้นมิได้อยู่ที่ปารีส ลอนดอน หรือ โรม แต่เป็นที่เมืองยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น โรงแรมนี้ถูกบันทึกไว้ใน Guinness Book of World Records ว่าเป็นโรงแรมและบ่อน้ำพุร้อน Nisiyama Onsen Keiunkan ซึ่งเปิดบริการมายาวตั้งแต่ปี 705 ส่วนโรงแรมที่เก่าแก่เป็นอันดับที่ 2 ก็คือโรงแรมและบ่อน้ำพุร้อน Hoshi Ryokan ที่ก่อตั้งในปี 718
ไม่เพียงแต่โรงแรมเท่านั้น ญี่ปุ่นยังเป็นเจ้าของธุรกิจเก่าแก่อีกมากมาย ทั้ง Sudo Honke โรงผลิตสาเกที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ก่อตั้งในปี 1141 ก่อนที่จะถูกควบรวมกิจการในปี 2006 และ Kongo Gumi บริษัทก่อนสร้างวัด ซึ่งถือเป็นธุรกิจครอบครัวที่เปิดดำเนินกิจการมายาวนานที่สุดในโลกถึง 14 ทศวรรษ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมี Yamanashi Prefecture Company บริษัทผลิตสินค้าเสื้อผ้าสำหรับพระสงฆ์ และแท่นบูชา ซึ่งดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 1024 บริษัท Ichimojiya Wasuke โรงงานขนมหวานที่เก่าแก่ที่สุด เปิดบริการในปี 1000 Nakamura Shaji บริษัทรับเหมางานก่อสร้างวัด และศาลเจ้า เปิดกิจการในปี 970 และบริษัทที่เก่าแก่ที่สุดก่อตั้งขึ้นในปี 885 คือ Kyoto-based Tanaka Iga บริษัทผลิตสินค้าสำกรับพระสงฆ์
นี่ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกในนักสำหรับประเทศดั้งเดิมอย่างญี่ปุ่น ที่มีรากฐานของการทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน จะเป็นที่รวมตัวของบริษัทเก่าแก่ในโลก แต่เป็นที่สังเกตว่า บริษัทเก่าแก่เหล่านี้มักเริ่มต้นมาจากธุรกิจของครอบครัว เช่น โรงงานผลิตสาเก และโรงแรม ที่เริ่มต้นก่อตั้งในช่วง 8 ทศวรรษ ระหว่างการเดินทางผ่านจากเมืองโตเกียว ไปยังเมืองเกียวโต Hugh Patrick ผู้อำนวยการของศูนย์ Columbia Business School’s Center กล่าวถึงธุรกิจของประเทศญี่ปุ่นไว้ว่า “ ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่วางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ควบคู่กับการเติบโตของประชากรเมืองอย่างหนาแน่น” ทำให้เกิดฐานลูกค้าอย่างหนาแน่น
แต่ทั้งนี้การอธิบายว่าบริษัทเหล่านั้นเริ่มก่อตั้งมาอย่างไร คงไม่สำคัญเท่าพวกเขาบริหารงานอย่างไร ถึงสามารถรักษากิจการของครอบครัวมาได้อย่างยาวนาน David Weinstein อาจารย์ภาควิชา Japanese economy มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ให้ความคิดเห็นว่า หนึ่งองค์ประกอบในนั้นคือการให้สิทธิ์แก่บุตรคนแรกในการสืบทอดกิจการทำให้บริษัทสามารถคงอยู่ได้
แม้ในช่วงทศวรรษที่ 20 การให้สิทธิ์แก่บุตรคนแรกจะเลือนหายไป ผู้สืบทอดกิจการก็มักจะถูกส่งต่อไปให้แก่ทายาของตระกูล ดังนั้นแล้วกิจการของครอบครัวจึงไม่ถูกครอบครองโดยผู้อื่น ยกเว้นเพียงการส่งต่อกิจการให้แก่บุตรบุญธรรม (หรือเขยของตระกูล) ในปี 2011 พบว่าในจำนวนบุตรบุญธรรม 81,000 คน มีมากกว่า 90% ที่เข้ามาในตระกูลโดยการแต่งงานเข้ามาเป็นเขย หรือสะใภ้ นอกจากนั้นยังพบด้วยว่าบริษัทที่ถูกส่งต่อไปยังบุตรเขย หรือบริหารงานร่วมระหว่างทายาทตระกูล และบุตรเขยนั้น มีระบบการบริหารที่แตกต่างไปจากบริษัทที่ให้สิทธิ์บริหารแก่ทายาทโดยตรง
การส่งต่อกิจการไปยังทายาทรุ่นหลังนั้น ยังจะเป็นการการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้า ต่อยอดจากบรรพบุรุษได้ ดังที่เห็นจากบริษัทดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่มีครอบครัวถือครองกิจการเอง Weinstein ยังยกตัวอย่างของบริษัท Sumitomo และ บริษัท Mitsui ซึ่งเป็นบริษัทเก่าแก่ทั้งคู่ ที่จับมือกันก่อตั้งบริษัท SMBC ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้นแล้วยังมีบริษัท Nintendo ผู้ผลิตเกมการ์ดในช่วงค.ศ. 1800 และพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งเป็นบริษัทที่บริหารงานโดยคนในครอบครัวเดียวกัน
Hugh Whittaker จาก Nissan Institute of Japanese Studies มหาวิทยาลับออกฟอร์ด กล่าวว่า บริษัทเหล่านั้นรักษาสมดุลทั้งการสืบต่อสิ่งเดิม ไปพร้อมๆกับการพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่นี่ว่า “การทำธุรกิจของชาวญี่ปุ่นนั้น เป็นไปบนพื้นฐานของความเห็นของคณะกรรมการบริษัท มากกว่าข้อเท็จจริงของแต่ละตัวเลือก” นั่นทำให้บริษัทที่มีผู้สืบทอดกิจการเป็นคนในครอบครัว สามารถบริหารงานมาได้อย่างยาวนาน หรืออาจมองได้ว่า ธุรกิจแบบครอบครัวนั้น ทำให้ผู้สืบทอดต้องมีความพยายามที่จะรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงของครอบครัวนั่นเอง
Categories