Categories
นิสัย

รูปแบบการทำงานของชาวญี่ปุ่นจะเป็นอย่างไรในอนาคต

การทำงานของชาวญี่ปุ่นมีหลากหลายรูปแบบ
ในปัจจุบันนั้น เราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้รูปแบบการทำงานแบบใด เราจะทำงานแบบพนักงานประจำ หรือพนักงานรูปแบบพิเศษ ที่มีทั้งในรูปของพนักงานพาร์ทไทม์ (หรือ Arbeit) พนักงานสัญญาจ้างจากบริษัทนายหน้าก็ได้
จากการสำรวจการจ้างงาน ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2013 ของสำนักงานสถิติ กระทรวงต่างประเทศ พบว่าในประเทศญี่ปุ่นมีการจ้างงานพนักงานมากถึง 52,050,000 คน ในจำนวนนั้น มีพนักงานประจำ 32,950,000 คน และพนักงานสัญญาจ้าง 19,080,000 คน นั้นหมายความว่ามากกว่า 30%ของพนักงานในญี่ปุ่น เป็นพนักงานแบบพิเศษ นอกจากนั้นยังพบด้วยว่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้ ในปี 2012 พนักงานประจำมีจำนวนลดลงถึง 320,000 คน ในขณะที่พนักงานแบบพิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 790,000 คน เมื่อเปรียบเทีบยกับในช่วงปี 1980 ที่ผ่านมากนั้นพนักงานสัญญาจ้างนั้นมีเพียง 1 ใน 7 คน นี่แสดงให้เห็นว่าการทำงานรูปแบบพิเศษได้รับความนิยมสูงขึ้นในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
ในจำนวนพนักงานทั้งหมดนี้ มีพนักงานพาร์ทไทม์จำนวน 13,270,000 คน พนักงานที่อยู่ระหว่างการพักงาน 1,100,000 คน พนักงานประจำ 3,930,000 คน และอื่นๆ อีกเป็นจำนวน 780,000 คน จึงสามารถกล่าวได้ว่าพนักงานพาร์ทไทม์คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 70% นอกจากนั้นแล้วพนักงานรูปแบบพิเศษนี้ มีสัดส่วนของเพศชาย 30% (6,110,000 คน) และเพศหญิงถึง 70% (12,970,000 คน)
สาเหตุของความแตกต่างในการเลือกรูปแบบการทำงาน : 1. เหตุผลจากมุมมองของตัวพนักงานเอง
สาเหตุที่พนักงานประจำมีจำนวนลดลง ในขณะที่พนักงานแบบพิเศษมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาจาก 2 สาเหตุ คือ มุมมองของตัวพนักงาน และมุมมองของนายจ้าง
มุมมองของตัวพนักงาน สามารถแบ่งออกได้ทั้งในปัจจัยเชิงบวก และเชิงลบ
ในเชิงด้านบวกนั้น พนักงานอาจมองว่าการเลือกทำงานไม่ประจำ ทำให้จำนวนชั่วโมง หรือวันทำงานมีความยืดหยุ่น ยกตัวอย่างเช่น แม่บ้าน และนักศึกษาซึ่งมักเลือกทำงานพาร์ทไทม์ที่ไม่กระทบต่องานบ้าน หรือการเรียน นอกจากนั้นพวกเขายังสามารถเลือกทำงาน 2-3 ชั่วโมงต่อวัน หรือเพียง 2-3 วันต่อสัปดาห์ได้
ในทางกลับกันก็ยังมีปัจจัยเชิงลบที่ทำให้พนักงานเลือกทำงานในรูปแบบพิเศษนี้ เช่น พวกเขาไม่สามารถหางานประจำได้ ในช่วงค.ศ. 1990 ญี่ปุ่นอยู่ในภาวะติดลบ (Lost Decade) การจ้างงานจึงหยุดลง นักศึกษาจบใหม่ตกงานมากขึ้น ทำให้ในช่วงนั้นผู้คนเริ่มมองหาการทำงานในรูปแบบพิเศษมากขึ้น แม้ต่อมาพวกเขาจะได้บรรจุเป็นพนักงานประจำแล้วก็ตาม ก็ยังพบว่ามีบางส่วนที่ยึดการทำงานในรูปแบบพิเศษนี้เพื่อการหาเลี้ยงชีพ
จากการสำรวจของกระทรวงสุขภาพ และแรงงานสัมพันธ์ ในปี 2010 พบว่าพนักงานรูปแบบพิเศษนี้ เลือกทำงานลักษณะนี้จากปัจจัยเชิงบวก 40% และจากปัจจัยเชิงลบ 20%
สาเหตุของความแตกต่างในการเลือกรูปแบบการทำงาน : 2. เหตุผลจากมุมมองของนายจ้าง
นอกจากเหตุผลที่มาจากตัวพนักงานเองแล้ว เหตุผลซึ่งมากจากตัวนายจ้างเองก็มีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานในรูปแบบพิเศษขึ้นเช่นกัน
โดยทั่วไปแล้วธุรกิจขนส่ง ร้านอาหาร และการบริการมักเลือกจ้างพนักงานในรูปแบบพิเศษ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจเหล่านี้มักได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละปี กล่าวคือมักมีผลประกอบการที่ไม่แน่นอน ในช่วงเวลาที่พนักงานประจำไม่เพียงพอ พนักงานรูปแบบพิเศษจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทำให้เกิดการจ้างงานในรูปแบบสัญญาจ้างมากขึ้น
เหตุผลถัดมาคือค่าตอบแทนที่ต่ำกว่า เนื่องจากพนักงานรูปแบบพิเศษมักได้รับค่าจ้างน้อยกว่าพนักงานประจำ ทำให้เห็นได้ชัดว่าสภาพเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในทุกๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น นายจ้างชาวญี่ปุ่นหลายรายเลือกจ้างแรงงานชาวจีน และแรงงานจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากแรงงานเหล่านี้มีค่าแรงที่ถูกกว่าแรงงานชาวญี่ปุ่นเอง ฉะนั้นการเลือกจ้างแรงงานในแบบพิเศษจึงช่วงลดรายจ่ายของนายจ้างลงได้
เหตุผลสุดท้าย คือ ผลกระทบจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้งานหลายด้านไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนในการทำงานอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านการจัดการข้อมูล ในอดีตนั้นงานเช่นนี้มักต้องใช้แรงงานคนที่มีทักษะในการรวบรวม และจัดลำดับข้อมูล แต่ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น จึงทำให้นายจ้างสามารถลดความจำเป็นในการฝึกอบรมพนักงานจนเชี่ยวชาญ ทำให้การจ้างงานพนักงานที่ไม่มีทักษะก็เพียงพอในการทำงานเหล่านั้นได้
รูปแบบการทำงานในอนาคต
จำนวนแรงงานในประเทศญี่ปุ่นกำลังหดตัว อันเนื่องมาจากอัตราการเกิดที่ต่ำลง ส่งผลสตรีและคนชรามีโอกาสเข้าถึงการจ้างงานมากขึ้น แต่พวกเขาอาจต้องพบกับความยากลำบากในการมองหางานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดูแลครอบครัว สุขภาพ ความสมดุลระหว่างงาน และชีวิตส่วนตัวหากกฎหมายแรงงานยังไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้ความแตกต่างของรูปแบบการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ยังจะส่งผลกระทบต่องานผีมือ ที่อาจถูกทดแทนด้วยเครื่องจักร แรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านซึ่งเครื่องจักรไม่สามารถเข้าถึงได้จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น ในขณะเดียวกันแรงงานที่มีทักษะในการควบคุมเครื่องจักรก็ย่อมเป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วย จึงเห็นได้ว่าความต้องการของทั้งนายจ้าง และลูกจ้างในอนาคตส่งผลต่อรูปแบบการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น