Categories
งาน

10 ข้อแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมขององค์กรญี่ปุ่น และอเมริกา

บทความนี้สื่อถึงข้อสังเกตของผมในช่วง 6 เดือนที่ผมร่วมงานกับบริษัทสัญชาติอเมริกา และพบว่าองค์กรญี่ปุ่น และองค์กรอเมริกานั้นมีทั้งข้อแตกต่าง และข้อที่คล้ายคลึงกัน หลังจากที่ผมเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัย ผมเดินทางมายังประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อทำงานในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะย้ายไปร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นถึง 4 ปีเต็ม ผมดำเนินรอยตามชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ต้องการร่วมงานกับองค์กรที่มีชื่อเสียง และนี่คือสิ่งที่ผมสังเกตได้จากการร่วมงานกับบริษัท SF Tech ชั้นแนวหน้า และถูกรายล้อมไปด้วยบริษัทที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน

 

ข้อสังเกต วัฒนธรรมของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น

ความรวดเร็ว หรือความแม่นยำ การตัดสินใจขององค์กรญี่ปุ่นนั้น เป็นไปตามลำดับขั้นการบริหาร ฉะนั้นการตัดสินใจเรื่องหนึ่งๆ มักเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และในบางครั้งใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจนานกว่าองค์กรอเมริกา เนื่องจากต้องอาศัยการประชุม และการทำเอกสาร ด้วยเหตุนี้เองข้อผิดพลาดที่ตามมาจึงน้อย และมีความแม่นยำในงานสูง

 

ตัวพนักงาน หรือทีมงาน บริษัทญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าพนักงานทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีม และยึดกับความสำเร็จของภาพรวมทั้งทีม เพราะหากทีมไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ตัวพนักงานก็ไม่มีความหมาย

 

การคืนทุนของโปรเจค หรือการคืนทุนของทุกกระบวนการ บริษัทญี่ปุ่นนั้นการคำนวณการคืนทุนเช่นเดียวกับบริษัทอเมริกา แต่พวกเขามักยึดติดกับการคำนวณ ROI ในทุกกระบวนการของโปรเจค โดยแยกคิดงบประมาณในทุกๆขั้นตอน ซึ่งแตกต่างกับบริษัทอเมริกาที่คิด ROI รวมทั้งโปรเจค

 

ความท้าทาย หรือความถี่ถ้วน แม้ว่าจะมีความมั่นใจเต็ม 100% ชาวญี่ปุ่นก็จะไม่รับปาก ที่ต้องระมัดระวังเช่นนี้ เป็นชาวญี่ปุ่นไม่ต้องการผิดคำพูด หากเกิดข้อผิดพลาดแม้เล็กน้อยก็ตาม ซึ่งนั่นอาจจะส่งผลด้านลบกลับมา

 

ปัจเจกบุคคล หรือความสามัคคี โดยทั่วไปแล้วบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น จะบริหารโดยชาวญี่ปุ่นซึ่งมีพื้นฐานทางด้านวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ทำให้พวกเขาสามารถเข้าใจกันได้ แม้ไม่มีการสื่อสารใดๆ นี่จึงเป็นทักษะด้านการสื่อสารที่จำเป็นในประเทศญี่ปุ่น

 

ใช้เวลาของตนเอง หรือให้เวลาแก่ผู้อื่น การจัดการประชุมเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น เนื่องจากการตัดสินใจในงานใดงานหนึ่ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนเสียก่อน นั่นทำให้ชาวญี่ปุ่นต้องเข้าร่วมการประชุมหลายต่อหลายครั้ง และใช้เวลาในประชุมยาวนาน

 

การสื่อสารทางไกล หรือการพูดคุยแบบเห็นหน้ากัน ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการประชุมที่ต้องมีการสนทนาต่อหน้า เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้พวกเขาดำเนินธุรกิจ และรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคู่ค้าไว้ได้นั่นเอง

 

การทำงานแบบยืดหยุ่น หรือการทำงานที่มีแบบแผน โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นจะมีช่วงเวลาในการทำงานที่แน่นอน พนักงานจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานที่บ้าน บรรยากาศการทำงานถูกจัดให้คล้ายคลึงกับการเรียนในโรงเรียน ซึ่งที่นั่งของหัวหน้าแผนกจะอยู่บริเวณหัวโต๊ะ ส่วนพนักงานคนอื่นๆจะนั่งทำงานรวมกัน โดยไม่มีห้องส่วนตัว หรือผนังกั้น

 

กองทุนส่วนตัว หรือกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท เมื่อถึงวัยเกษียณอายุ พนักงานที่ทำงานในองค์กรญี่ปุ่นมักได้รับเงินกองทุนที่บริษัทเป็นผู้สนับสนุน นอกเหนือจากการจ่ายค่าจ้างประจำเดือน ยิ่งพนักงานร่วมงานกับบริษัทมายาวนานเท่าไร จำนวนเงินกองทุนก็จะเพิ่มขึ้นตามด้วย

ใช้ชีวิตส่วนตัว หรือใช้ชีวิตแบบมืออาชีพ สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งของชาวญี่ปุ่นคือการทำงาน ที่ทำงานจึงกลายเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของทุกคน และมักมีวัฒนธรรมที่สืบต่ออันมา เช่น พนักงานใหม่จะต้องเป็นผู้จองสถานที่สำหรับการสังสรรค์และชมดอกไม้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ  (Hanami) และการสังสรรค์ในเวลาหลังเลิกงานของเพื่อนร่วมงาน (Nomikai) ที่พนักงานจะได้ใช้เวลาในการสนทนาร่วมกัน