Categories
อื่น ๆ

7 เรื่องราวสุดเซอร์ไพรส์ของชาวญี่ปุ่นที่ต้องไปทำงานต่างถิ่น

ข้อสังเกตเหล่านี้คือสิ่งที่พนักงานชาวญี่ปุ่นพบเจอเมื่อต้องไปทำงานที่ต่างประเทศ

ไม่มีการทำงานล่วงเวลา
ปกติแล้วพนักงานบริษัทในประเทศเยอรมัน และสเปนจะไม่ทำงานล่วงเวลา เพราะการใช้เวลากับครอบครัวเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า พนักงานบริษัทหลายคนจึงให้ความสำคัญกับการจัดสรรระหว่างเวลาส่วนตัว และเวลาทำงาน ชาวออสเตรเลียจึงตรงกลับบ้านทันทีหลังเลิกงาน มีเพียงบางคราวเท่านั้นที่ต้องอยู่ทำงานล่วงเวลาเพื่อให้งานเสร็จทันส่งมอบให้ผู้อื่น แต่หากเป็นวันทำงานปกติแล้ว พนักงานเหล่านี้จะเลิกงานทันทีที่นาฬิกาบอกเวลาเลิกงานตอน 5 โมงเย็น ดังนั้นการติดต่องานในต่างประเทศ จึงจะต้องอยู่ในช่วงเวลาทำการของบริษัทเท่านั้น
แต่สำหรับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นแล้ว การทำงานล่วงก็ยังเป็นสิ่งที่พนักงานควรปฏิบัติ ไม่ว่าจะใช้เวลานานเพียงใด พนักงานก็ควรทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ แม้ว่าจะไม่ได้รับค่าตอบแทนก็ตาม ซึ่งในบางครั้งก็อาจจะต้องเข้างานแต่เช้าตรู่ และเลิกงานดึกบ้างหากต้องไปพบลูกค้า
พนักงานไม่มีทัศนคติในการรับผิดชอบความผิด
ในประเทศจีนนั้น พนักงานจะไม่แสดงความขอโทษ แม้ข้อผิดพลาดจะมาจากตัวพนักงานเองก็ตาม นอกจากจะไม่ได้ยอมรับในสิ่งที่ตนกระทำผิดแล้ว พนักงานเหล่านั้นยังพยายามหาข้อแก้ตัวเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดของตนเองอีกด้วย เช่นเดียวกับชาวไทยที่ไม่นิยมแสดงความรับผิดชอบเมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน พวกเขามักหาผู้ที่มารับผิด ด้วยการกล่าวโทษบุคคลอื่นๆเสียมากกว่า
การกล่าวขอโทษ และแสดงความรับผิดชอบ เป็นวัฒนธรรมที่พบเจอได้ทั่วไปในสังคมญี่ปุ่น แม้ข้อผิดพลาดจะเล็กน้อยเพียงใด หรือเกิดจากบุคคลใดก็ตาม สิ่งแรกที่พนักงานญี่ปุ่นต้องทำคือการขอโทษ แม้เจ้าตัวจะรู้สึกอึดอัด และมาบ่นทีหลังก็ตาม แต่การแสดงความรับผิดชอบต่อหัวหน้างาน และลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ใช้เวลาพักได้นานๆ
ไม่ว่างานจะยุ่งเพียงใด พนักงานในแถบยุโรป และอเมริกา ก็สามารถลาพักร้อนไปสถานที่ที่พวกเขาพึงพอใจได้เป็นเวลานานๆ เช่นเดียวกันกับในประเทศอินเดียที่พนักงานจะมาทำงานสายกี่โมงก็ได้ โดยไม่มีบทลงโทษใดๆทั้งสิ้น หากพวกเขาสามารถทำงานเสร็จได้ทันเวลา
ผิดกลับชาวญี่ปุ่นที่เคร่งครัดในการลางาน แม้ว่าจะไม่สบาย พวกเขาก็จะเลือกใช้วันลาพักร้อนแทน เพื่อไม่ให้บริษัทเสียผลประโยชน์ในวันที่พวกเขาไม่สามารถทำงานได้ นอกจากนั้นการมาทำงานสายก็ยังถูกบันทึกข้อมูลไว้เป็นนาทีเลยทีเดียว

การใส่ใจในการรับประทานอาหาร
การใส่ใจ และใช้เวลาในการรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติในหลายสังคมทั่วโลก ชาวแมกซิกันมักใช้เวลาในการรับประทานอาหารกลางวันถึง 2 ชั่วโมง งานเลี้ยงอำลาในหลายๆประเทศ ก็มักจะจัดขึ้นในช่วงพักกลางวัน มากกว่าการใช้ช่วงเวลาส่วนตัวหลังเลิกงาน ชาวเกาหลีเองก็ยังเลือกที่จะรับประทานอาหารให้เสร็จ ก่อนการเริ่มทำงานล่วงเวลา นอกจากนั้นแล้ว ในบางประเทศพนักงานก็สามารถรับประทานอาหารเช้า หรือดื่มเครื่องดื่มได้ระหว่างเวลาทำงานอีกด้วย
แตกต่างจากบริษัทญี่ปุ่นที่จัดเวลาพักเที่ยงให้พนักงานประมาณ 1 ชั่วโมง สำหรับการรับประทานอาหารกลางวัน แต่พนักงานหลายคนก็ยังคงเลือกรับประทานอาหารง่ายๆ ที่โต๊ะทำงาน และทำงานต่อในช่วงเวลาพัก เช่นเดียวกับการดื่มชา และกาแฟตลอดช่วงวันทำงาน จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ร้านค้ามีอยู่ทุกหนทุกแห่ง และเป็นที่สังเกตว่าเครื่องดื่มหลากหลายเมนูถูกแทนที่ด้วยเครื่องดื่มชูกำลัง

เรื่องของตนเองมาก่อนเสมอ
ชาวรัสเซียจะทำงานตามที่ได้รับคำสั่งมาเท่านั้น พนักงานระดับล่างก็แทบจะไม่รับการใส่ใจจากผู้บริหารเลย เพราะผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ใช้ชีวิตหรูหรา พบปะสังสรรค์กันเฉพาะกลุ่ม และเพิกเฉยต่อพนักงานระดับล่าง เป็นสังคมที่แยกชนชั้นอย่างแท้จริง
พนักงานบริษัทในประเทศอินเดีย ก็ทำเฉพาะงานของตนเอง หากโทรศัพท์ของโต๊ะข้างเคียงดังขึ้น พวกเขาจะไม่รับสาย มีเพียงโทรศัพท์ที่ต่อตรงถึงโต๊ะพวกเขาเท่านั้นที่ได้รับความสนใจ
พนักงานชาวออสเตรเลียก็มักจะเปลี่ยนงานอยู่บ่อยๆ
ชาวอเมริกาไม่นิยมตอบกลับอีเมล์ใดๆ พวกเขาเพียงอ่านอีเมล์ที่ได้รับเท่านั้น และเพิกเฉยต่อการตอบสนอง เช่นเดียวกับพนักงานชาวอินเดียที่สนใจเฉพาะเรื่องของตนเองมากกว่าลูกค้า จึงเป็นเรื่องปกติไปแล้วที่ลูกค้าต้องรออีเมล์ตอบกลับเป็นระยะเวลามากกว่าหนึ่งสัปดาห์ดังนั้นเมื่อบริษัทมีการจัดงานซึ่งไม่อยู่ในเวลางานแล้ว การเข้าร่วมงานก็มักเป็นไปด้วยความสมัครใจมากกว่า
แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นแล้ว การทำงานเป็นทีมเป็นสิ่งที่เคร่งครัด ความสามัคคีในการเข้าร่วมงานเลี้ยงยังเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาเลื่อนขั้น เช่นเดียวกันกับความสำเร็จขององค์กรมักเป็นสิ่งแรกที่พนักงานยึดถือก่อนความสำเร็จของตัวพนักงานเอง

บทบาทหน้าที่ของเพศชาย และหญิง
บริษัทในประเทศแถบยุโรปเหนือ พนักงานเพศชายร้องขอวันลาที่เท่าเทียมกับพนักงานหญิงซึ่งได้รับสิทธิ์ในการลาคลอด ส่วนพนักงานหญิงในประเทศเวียดนามกลับต้องทำงานแบกหาม พวกเธอต้องทำงานหนัก ขณะที่พนักงานเพศชายกลับไม่ต้องทำงานที่ออกแรงมากนัก ทั้งๆที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องแรงงานที่ขยันสักเท่าไหร่ แต่เป็นเพราะพนักงานชายเหล่านี้เพียงแต่ขี้เกียจก็เท่านั้น
สังคมญี่ปุ่นนั้น ได้ชื่อว่าเป็นสังคมที่ผู้ชาย และผู้หญิงมีบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนมากที่สุด ขณะที่ผู้ชายเป็นฝ่ายทำงานนอกบ้านอย่างหนัก ผู้หญิงเองก็รับผิดชอบดูแลครอบครัว และลูกๆ แต่ในสังคมยุคใหม่ก็พบว่าบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงที่ทำงานนอกบ้าน และผู้ชายที่เป็นฝ่ายเลี้ยงดูลูกๆมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

องค์กรไม่ได้ดูแลพนักงานมากนัก
พนักงานหลายคนมักได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินทิปที่ลูกค้ามอบให้เพื่อแทนคำชมเชยในการบริการที่น่าประทับใจ แต่ในประเทศจีนนั้นการให้ทิปมักมาจากความรวดเร็วในการบริการของร้านค้า โดยลูกค้าจะให้เงินทิปในกล่องของทางร้าน
ผิดกลับประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่มีวัฒนธรรมการให้เงินพิเศษแก่พนักงาน ยกเว้นการขอให้ทำงานที่ไม่อยู่ในความรับผิดชอบเท่านั้น นอกเหนือจากนั้นแล้ว พนักงานจะได้รับค่าจ้างตามที่ได้ตกลงกันไว้แต่แรก

แน่นอนว่า 7 สิ่งนี้ไม่ได้หมายรวมถึงการทำงานในทุกประเทศ แต่การทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมการทำงานขอคนญี่ปุ่นได้ และแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละองค์กร ค่าตอบแทน และระดับของพนักงานด้วย